โลกอาจเผชิญกับการขาดแคลนแร่ลิเธียม (Lithium) ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักสำคัญที่ใช้ผลิต "แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า" เนื่องจากความต้องการรถ EV เพิ่มสูงขึ้น โดยแร่นี้ซึ่งมีราคาสูงและหาได้ยากอยู่พอสมควร นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าอาจมาถึงภายในปี 2025 แต่อย่างไรก็ตาม คนอื่นๆ มองเห็นกรอบเวลาที่นานกว่านี้ก่อนที่จะขาดแคลน
BMI Research ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยของ Fitch Solutions เป็นหนึ่งในกลุ่มที่คาดการณ์การขาดดุลอุปทานลิเธียมภายในปี 2025 ในรายงานที่เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ BMI อ้างว่าการขาดดุลนั้นเกิดจากความต้องการลิเธียมของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าจีน ที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด
โดยระหว่างปี 2023 - 2032 ประเทศจีน จะมีความต้องการแร่ลิเทียมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 20.4% แต่ในขณะเดียวกันจำนวนแร่ลิเทียมที่จีนผลิตได้นั้น จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราวๆ 6% ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งจีน เป็นผู้ผลิตลิเธียมรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก
ในปี 2021 โลกผลิตแร่ลิเทียมได้ 540,000 ตัน แต่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่า ความต้องการแร่ลิเทียมทั่วโลก จะพุ่งสูงถึงมากกว่า 3 ล้านตัน
จากการคาดการณ์ของ S&P Global Commodity Insights ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าตั้งเป้าไว้ที่ 13.8 ล้านคันในปี 2023 แต่จะเพิ่มขึ้นเป็น 30 ล้านคันในเวลาต่อมาภายในปี 2030
“โดยพื้นฐานแล้วเราเชื่อในเรื่องการขาดแคลนอุตสาหกรรมลิเทียม เราคาดการณ์การเติบโตของอุปทานแน่นอน แต่ความต้องการถูกกำหนดให้เติบโตเร็วขึ้นมาก” Corinne Blanchard ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยลิเทียมและเทคโนโลยีสะอาดของ Deutsche Bank กล่าว
จากข้อมูลของบริษัทวิจัยพลังงาน โครงการลิเทียมหลายร้อยโครงการอยู่ระหว่างการสำรวจ แต่ความซับซ้อนในด้านธรณีวิทยาและกระบวนการขออนุญาตที่ใช้เวลานาน ยังคงเป็นความท้าทาย ซึ่งปัจจุบันมีเหมืองลิเทียมเพียง 101 แห่งในโลก ตามข้อมูลของ Refinitiv
ที่จึงเป็นเหตุที่ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์หลายๆ เจ้า ได้ร่วมมือกับบริษัทแบตเตอรี่ต่างๆ ในการคิดค้นแบตเตอรี่จากพลังงานใหม่ๆ จากวัตถุดิบอื่น หรือแร่ใหม่ๆ กันมากขึ้น อาทิ แบตเตอรี่เกลือ เป็นต้น
แหล่งที่มาจาก
- CNBC