NSU Prinz (เอนเอสยู พรินซ์) ในอดีตจัดได้ว่าเป็นรถยนต์ขนาดเล็กรุ่นขายดีของค่าย NSU (เอ็นเอสยู) ที่ผลิตโดย NSU Motorenwerke AG จากเยอรมนีตะวันตก ตั้งแต่ในช่วงปี 1958-1973
ก่อนที่แบรนด์ NSU จะถูก Volkswagen ซื้อไปในปี 1969 และถูกจับไปอยู่รวมกับกลุ่ม Auto Union ที่พัฒนามาจนเป็นส่วนหนึ่งของรถในแบรนด์ Audi (อาวดี้) นั่นเอง
หลังจากที่ Audi ในปัจจุบันที่ได้รุกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องหลายๆ รุ่น อีกทั้งยังใช้ระบบ AI และเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างรถ รวมถึงการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าแรงสูง แต่ทาง Audi ก็ยังให้ความสำคัญกับรถรุ่นดังที่สร้างชื่อให้กับบริษัทในอดีต กลับมาเกิดใหม่ในรูปแบบใหม่ๆ อีกด้วย
The NSU Prinz 4 Project ถูกสร้างขึ้นโดยทีมวิศวกรฝึกหัดของ Audi ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากรถ Classic อย่าง NSU Prinz มาเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 240 แรงม้าของ Audi e-Tron และแบตเตอรี่ของ Q7 TSFI eQuattro
โดยหนึ่งในทีมวิศวกรฝึกหัดได้กล่าวว่า การสร้าง NSU Prinz 4 ให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบสปอร์ต ขึ้นมานั้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงวันครบรอบ "เราต้องการสร้างรถที่ไม่เพียงแค่เร็วและดูดีเท่านั้น" เราจะนำรถที่เลิกผลิตไปนานหลายทศวรรษมาชุบชีวิตใหม่ และให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบสปอร์ตทันสมัย
สำหรับโปรเจคนี้มีชื่อว่า Audi "EP4" โดย "E" นั้นหมายถึงระบบไฟฟ้า ในขณะที่ P4 เพื่อเป็นเกียรติแก่ NSU Prinz 4 ซึ่งเป็นรถคลาสสิกที่ผลิตโดย NSU Motorenwerke นั่นเอง
รูปโฉมภายนอกมาในสไตล์โมเดิร์นคลาสสิก ยังคงเน้นเส้นสายตัวรถในรุ่นต้นฉบับเอาไว้ โดยนำพื้นฐานของรถมาจาก Audi A1 มาดัดแปลงใหม่ โดดเด่นกับสีรถ Suzuka Grey และ Brilliant Black กับชุดไฟหน้าแบบ LED ทรงกลมสองดวง และไฟ Daytime Running Light แบบ LED ทรงวงรี พร้อมปรับชุดช่วงล่างแบบสปอร์ต
มาพร้อมซุ้มล้อขนาดใหญ่ มีชุดบังโคลน 3 มิติ พร้อมล้อแบบ Aero Disk สไตล์รถแรลลี่ และชุดไฟท้ายแบบ LED 3 ดวงด้านหลัง และสปอยเลอร์ขนาดใหญ่บริเวณเสา C และฝากระโปรงท้าย
แม้ว่าจะไม่ได้ภาพภายในให้ชม แต่มีการชี้แจงว่าภายในตกแต่งด้วยสี Signal Yellow และนั่ง Bucket Seat จาก Recaro Podium นอกจากนี้ยังติดตั้งหน้าจอแสดงผล สำหรับตรวจเช็คมาตรวัดต่างๆ
ส่วนขุมพลังในรุ่นต้นตำรับใช้เครื่องยนต์ 2 สูบ 30 แรงม้า ขับเคลื่อนระบบล้อหลัง มาเป็นพลังงานไฟฟ้าให้กำลังสูงสุด 240 แรงม้า ที่ยกมาจาก Audi e-tron ไว้ในบริเวณด้านหลัง และแบตเตอรี่แบบเดียวกับใน Audi Q7 TFSI e-quattro วางไว้ใต้ฝากระโปรงหน้า
"โดยโครงการนี้ เปิดโอกาสให้ผู้ฝึกงานทำงานได้อย่างอิสระ โดยใช้เทคนิคและวัสดุต่างๆ ตัวอย่างเช่น มอเตอร์ไฟฟ้า แท่นพิมพ์คาร์บอนไฟเบอร์ 3 มิติ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต มาใช้ดีไซน์ฝากระโปรงหน้าด้วย" Timo Engler หัวหน้าฝ่ายฝึกอบรมเทคโนโลยียานยนต์และโลจิสติกส์ ของ Audi กล่าวทิ้งท้าย