1. กำหนดงบประมาณและตรวจสอบราคารถในท้องตลาด เพื่อป้องกันราคาจ่ายที่เกินจริงและเกินความจำเป็น หากไม่แน่ใจเรื่องราคา สามารถสอบถามจากไฟแนนซ์ดูก่อนได้ เพราะไฟแนนซ์จะมีการอัปเดตราคาในท้องตลาดอยู่เป็นประจำ หรือดูรถจากเว็บที่มีราคากลางที่ได้มาตรฐานมาอ้างอิง ก็จะช่วยลดระยะเวลาในการหาข้อมูล
2. สำรวจแพลตฟอร์มออนไลน์รถมือสอง แพลตฟอร์มออนไลน์รถมือสอง นอกจากจะช่วยให้ได้รถที่ตอบโจทย์และเหมาะกับการใช้งานจริง ที่สำคัญคือไม่เสียเวลาที่จะไปสุ่มหารถมือสองทีละเต็นท์ทีละเจ้าให้เสียเวลา เลือกเบื้องต้นจากแพลตฟอร์มออนไลน์ รถเต็นท์ไหนเข้าตาค่อยเดินทางไปชมและสัมผัสของจริง
3. ตรวจสอบประวัติรถยนต์ เพื่อจะได้ทราบว่ารถคันที่หมายตาไว้ เคยผ่านอุบัติเหตุร้ายแรงมาก่อนหรือไม่ หรือมีส่วนไหนที่จะเกิดปัญหายิบย่อยตามมาในภายหลัง รวมถึงลักษณะการใช้งานในอดีต
4. ตรวจสอบไมล์สะสมรถยนต์ แนะนำให้หาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยตรวจสอบ เพราะรถมือสองมักจะมีปัญหาการโกงเลขไมล์อยู่บ่อย ๆ และควรตรวจสอบเลขไมล์ควบคู่กับปัจจัยอื่นประกอบ เช่น อายุรถ วันจดทะเบียน ฯลฯ
5. เช็กสภาพภายนอกรถ ตรวจดูทรงของตัวรถ / สี / โครงสร้าง โดยเฉพาะรอยเชื่อมตะเข็บตัวถัง หัวน็อต ระยะห่างของร่องตัวถัง / รอยไดอาร์คจากโรงงาน / ตรวจดูยางหุ้มในแต่ละส่วนของตัวรถ / เลขแชสซี
6. เช็กสภาพภายในห้องโดยสารและอุปกรณ์ต่างๆ ให้ดูระบบไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด / เครื่องปรับอากาศ / เกียร์ / พวงมาลัย / ตรวจสอบเครื่องยนต์ของรถ / ตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำมัน / ตรวจสอบสภาพหม้อน้ำ / ตรวจสอบสายเคเบิลเชื่อมต่อว่ามีความเสียหายหรือไม่
7. ทดลองขับจริง เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจสอบสภาพรถมือสอง เพราะการมองด้วยสายตาเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่สามารถชี้ชัดได้ว่ารถคันนั้นเหมาะสมกับคุณจริงหรือไม่ แต่การทดลองขับจริง เป็นโอกาสที่จะตรวจสอบสภาพการทำงานของตัวรถ เป็นการป้องกันการ “ย้อมแมวขาย” ได้เป็นอย่างดี
8. ตรวจสอบเอกสารให้ถี่ถ้วนในทันทีที่ได้รถคู่ใจคันใหม่ เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นที่จะต้องศึกษาและตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาในภายหลัง