ก่อนหน้านี้ ได้มีข่าวรายงานว่า 2 ค่ายรถยนต์ชื่อดัแย่าง SUBARU และ SUZUKI ตัดสินใจหยุดการผลิตรถยนต์ในไทยนั้น สร้างความฮืฮาให้กับตลาดรถยนต์ในไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งล่าสุดทาง Krungthai COMPASS ได้ออกท่วิเคราะห์ 2 สาเหตุสำคัญที่ทำให้ทั้งตัดสินใจหยุดการผลิตดังกล่าว พร้อมประเมินกระทบภาพรวม
โดยวันที่ 13 มิถุนายน 2567 Krungthai COMPASS วิเคราะห์ว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ค่ายรถยนต์ Subaru และ Suzuki ตัดสินใจหยุดสายการผลิตในไทยนั้น มาจาก 1) การทำตลาดที่ยากขึ้นกว่าในอดีต สะท้อนจากยอดขายและส่วนแบ่งตลาดที่ปรับตัวลงต่อเนื่องในระยะหลัง จากการที่ผู้บริโภคไทยให้ความสนใจรถยนต์สันดาปภายใน (ICE) ที่ลดลงต่อเนื่อง
ซึ่งเมื่อหันกลับมามองโมเดลรถยนต์ที่ทั้ง Subaru และ Suzuki ใช้ทำตลาดในไทย พบว่าล้วนมีแต่รถยนต์ ICE แทบทั้งนั้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาสู่ 2) ปัญหาการขาดทุนที่สะสมอย่างต่อเนื่อง โดย 5 ปีที่ผ่านมา (2562-2566) ค่ายรถยนต์ทั้ง 2 ต้องเผชิญกับผลขาดทุนสุทธิสะสมรวมกันถึง 3,781 ล้านบาท
ในเบื้องต้นประเมินว่า เฉพาะเหตุการณ์ครั้งนี้อาจกระทบภาพรวมยอดผลิตรถยนต์ไทยไม่มาก เนื่องจากทั้ง 2 ค่ายรถยนต์มีสัดส่วนการผลิตไม่สูงนัก โดยคาดว่าการผลิตรถยนต์ลดลงราว 6,500 คัน ในปี 2568 จากคาดการณ์เดิมที่ 1,800,000 คัน เหลือ 1,793,500 คัน
อย่างไรก็ดี นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนแรกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่จากการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งต้องจับตาต่อไปว่าจะมีค่ายรถยนต์รายอื่น ๆ ต้องหยุดสายการผลิตซ้ำรอยกับ Subaru และ Suzuki หรือไม่ เมื่อการแข่งขันจากยานยนต์ไฟฟ้ารุนแรงขึ้นต่อเนื่อง
ทั้งยังยังผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทย แบ่งเป็น 3 มิติ ได้แก่
1.ยอดการผลิตรถยนต์ของไทย ในปี 2567 ว่ามีโอกาสหดตัว 4.6% มาอยู่ที่ 1.75 ล้านคัน ติดลบต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากยอดขายรถยนต์ในประเทศถูกกดดันทั้งจาก กำลังซื้อที่อ่อนแอจากเศรษฐกิจที่เติบโตในระดับต่ำ และปัญหาหนี้เสียที่กดดันให้มาตรฐานการพิจารณาสินเชื่อมีความเข้มงวดขึ้น
2.ผลกระทบต่อ “ดีลเลอร์รถยนต์” ซึ่งการขายรถยนต์ถือเป็นรายได้หลักของดีลเลอร์คิดเป็นสัดส่วน 84% ของรายได้ทั้งหมด จึงมีความเสี่ยงที่รายได้ของดีลเลอร์ทั้ง 2 ค่ายรถยนต์อาจถูกกดดันหากการนำเข้าไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภค ดังนั้น ตัวเลือกของดีลเลอร์อาจเป็นไปได้ทั้งการดำเนินการเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ให้ทั้ง 2 ค่ายต่อไป หรือ Diversify ไปเป็นดีลเลอร์ให้กับยานยนต์ค่ายอื่นๆ
3.ผลกระทบต่อ เต็นท์รถมือ 2 มีเต็นท์จำนวนไม่น้อยที่รับซื้อรถยนต์ซูบารุและซูซูกิมือ 2 ไว้ก่อนแล้ว การที่ผู้ผลิตปรับลดราคามือ 1 ลงจะยิ่งกดดันให้เต็นท์รถต้องปรับราคาลงเพื่อระบายของออกซึ่งอาจนำไปสู่กำไรที่แย่ลง