สถิติการขายรถยนต์ในปี 2566 ถือเป็นปีที่ภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยยังคงอยู่ในภาวะทรงตัว โดยตลาดภายในประเทศยังคงมีทิศทางที่ชะลอตัว ในขณะที่ภาคการส่งออกโดยรวมมีการขยายตัวที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ มีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดในปีที่ผ่านมา ทั้งจากสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัว กำลังซื้อชะลอตัวลงจากหนี้ครัวเรือนสูง ตลอดจนการชะลอซื้อรถยนต์ของภาคธุรกิจเพื่อรอความชัดเจนจากมาตรการรัฐซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ขณะเดียวกันสถาบันการเงินก็เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ยังสูง
อย่างไรก็ตาม ยังพอมีปัจจัยด้านบวกอื่นๆ ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์โดยรวม อาทิ สัดส่วนการขายของตลาดรถยนต์นั่งในประเทศที่ขยายตัวได้ดี โดยได้กระแสความนิยมในรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ได้อานิสงส์จากมาตรการสนับสนุนด้านราคาของภาครัฐ ตลอดจนตัวเลขการส่งออกรถยนต์ของไทยที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากสัดส่วนการผลิตเพื่อส่งออกในช่วงที่ผ่านมา เพื่อชดเชยการส่งมอบรถที่ล่าช้าจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนสำคัญจนทำให้การผลิตล่าช้าออกไปในปีก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ จากปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว ได้สะท้อนมายังตลาดรถยนต์ในประเทศ โดยมีตัวเลขยอดขายรวมในปี 2566 อยู่ที่ 775,780 คัน หรือลดลง 9% เมื่อเทียบกับปี 2565
สถิติการขายรถยนต์ในปี 2566 |
ยอดขายปี 2566 |
การเปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2565 |
|
775,780 คัน |
-9% |
|
292,505 คัน |
+10% |
|
483,275 คัน |
-17% |
|
325,024 คัน |
-29% |
|
264,738 คัน |
-32% |
สำหรับยอดขายของโตโยต้าในปี 2566 มียอดขายโดยรวมอยู่ที่ 265,949 คัน หรือลดลง 8% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หากแต่ยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 หรือเท่ากับ 34.3% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด
ส่วนหนึ่งจากการที่ส่วนแบ่งทางการตลาดรถยนต์นั่งของ Toyota มีการเติบโตสูงขึ้นจากปีที่แล้วอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในกลุ่มรถอีโคคาร์ที่ยังครองส่วนแบ่งทางการตลาดอันดับ 1 ได้ต่อเนื่อง จากยอดขาย Yaris ATIV รวมถึงรถยนต์รุ่นใหม่อย่าง Yaris Cross ที่เพิ่งเปิดตัวไปช่วงปลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ กิจกรรมทางการตลาดรูปแบบต่างๆ ตลอดจนผลิตภัณฑ์ยานยนต์หลากหลาย ก็ทำให้เข้าถึงลูกค้าในกลุ่มเป้าหมายต่างๆได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
นอกเหนือจากรถยนต์ภายใต้แบรนด์โตโยต้า ในปี 2566 ที่ผ่านมา แบรนด์ Lexus (เลกซัส) ประเทศไทย ประสบความสำเร็จ มียอดขายสูงสุด อยู่ที่ 1,012 คัน นับเป็นครั้งแรกที่สร้างยอดขายได้สูงสุดถึงระดับกว่า 1,000 คัน
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2566 |
ยอดขายปี 2566 |
การเปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2565 |
ส่วนแบ่งตลาด |
|
265,949 คัน |
-8% |
34.3% |
|
99,292 คัน |
+20% |
33.9% |
|
166,657 คัน |
-19% |
34.5% |
|
128,689 คัน |
-27% |
39.6% |
|
106,601 คัน |
-28% |
40.3% |
แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2567
แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2567 คาดว่าจะยังคงอยู่ในสภาวะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปพร้อมๆ กับการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมด โดยมีปัจจัยรอบด้านที่จะส่งผลกระทบต่อภาพรวม อาทิ การเติบโตของการบริโภคภาคเอกชนจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น นโยบายของภาครัฐที่จะสนับสนุนการใช้จ่ายให้เร่งตัวขึ้น
การขยายตัวของการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมภายในประเทศและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการผลักดันมาตรการสนับสนุนการลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเฝ้าดูสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่จะส่งผลในด้านการส่งออก ตลอดจนสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่ยังคงสูง และทิศทางของนโยบายอัตราดอกเบี้ยอีกด้วย
ทำให้คาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2567 จะอยู่ที่ 800,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2567 |
ยอดขายประมาณการปี 2567 |
เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2566 |
|
800,000 คัน |
+3% |
|
296,500 คัน |
+1% |
|
503,500 คัน |
+4% |
สำหรับโตโยต้า ตั้งเป้ายอดขายอยู่ที่ 277,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 4% โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 34.6%
ประมาณการยอดขายรถยนต์โตโยต้าในปี 2567 |
ยอดขายประมาณการปี 2567 |
เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2566 |
ส่วนแบ่งตลาด |
|
277,000 คัน |
+4% |
34.6% |
|
81,700 คัน |
-18% |
27.6% |
|
195,300 คัน |
+17% |
38.8% |
|
133,264 คัน |
+4% |
41.2% |
|
114,500 คัน |
+7% |
42.1% |
ปริมาณการส่งออกรถยนต์และการผลิตของ Toyota ในปี 2566
ในปี 2566 Toyota ได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปไปจำนวน 379,044 คัน เพิ่มขึ้น 0.2% จากปี 2565 โดยยอดรวมการผลิตรถยนต์สำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกในปี 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 621,156 คัน หรือลดลง 5.8% จากปี 2565
ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตของโตโยต้าในปี 2566 |
ปริมาณในปี 2566 |
เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2565 |
|
379,044 คัน |
+0.2% |
|
621,156 คัน |
-5.8% |
เป้าหมายการส่งออกรถยนต์และการผลิตของ Toyota ในปี 2567
สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปี 2567 คาดการณ์ว่ายังต้องเผชิญกับผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีแนวโน้มเติบโตต่ำ ตลอดจนภาวะฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าที่ยังคงชะลอตัว
ส่งผลให้โตโยต้าตั้งเป้าปริมาณการส่งออกรถยนต์อยู่ที่ 358,800 คัน หรือลดลง 5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และได้ตั้งเป้าการผลิตรถยนต์ทั้งหมดของปี 2567 อยู่ที่ราว 615,700 คัน หรือลดลง 0.9% จากปีที่ผ่านมา
เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตของโตโยต้าปี 2567 |
ปริมาณในปี 2567 |
เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2566 |
|
358,800 คัน |
-5.0% |
|
615,700 คัน |
-0.9% |
แหล่งที่มาจาก:
- โตโยต้าแถลงยอดขายรถยนต์ปี 2566 คาดการณ์ตลาดรวมปี 2567 ที่ 800,000 คัน พร้อมตั้งเป้าประมาณการขายโตโยต้าที่ 277,000 คัน