เผย! 5 สาเหตุว่าทำไมถึงไม่ควรถอดรองเท้าขับรถ?
เผย! 5 สาเหตุว่าทำไมถึงไม่ควรถอดรองเท้าขับรถ?

เผย! 5 สาเหตุว่าทำไมถึงไม่ควรถอดรองเท้าขับรถ?

5 สาเหตุที่ไม่ควรถอดรองเท้าขับรถกันครับ

1. เท้าลื่น - เท้าเปล่ามีความเสี่ยงสูงที่จะลื่นไถลบนแป้นเหยียบ โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่ร้อนชื้นหรือเมื่อเท้าเหงื่อออก ทำให้ผู้ขับขี่ควบคุมรถได้ยากลำบาก อาจเกิดการเหยียบคันเร่งหรือเบรกผิดพลาด ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น

2. ตอบสนองช้าลง - รองเท้าช่วยเพิ่มเสถียรภาพและการยึดเกาะของเท้าบนแป้นเหยียบ การขับรถเท้าเปล่าจะทำให้การตอบสนองต่อการเหยียบคันเร่งและเบรกช้าลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอาจเป็นอันตรายอย่างยิ่งในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น การเบรกกะทันหัน

3. เสี่ยงต่อการบาดเจ็บรุนแรง - ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ เท้าเปล่าจะได้รับความเสียหายรุนแรงจากเศษแก้ว เศษโลหะ หรือชิ้นส่วนอื่นๆ ภายในรถยนต์ ในขณะที่รองเท้าจะช่วยป้องกันเท้าจากการบาดเจ็บเหล่านี้ได้

4. อาจควบคุมรถลำบาก - รองเท้าที่วางอยู่บนพื้นห้องโดยสารอาจไปขัดขวางแป้นเบรกหรือคันเร่ง เกิดการเบรกหรือเร่งเครื่องยนต์กะทันหันโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้

5. ผิดกฏหมาย - กฏหมายห้ามถอดรองเท้าขับรถบังคับใช้กับผู้ขับขี่รถรับจ้าง รถสาธารณะ รวมไปถึงรถแท็กซี่ รถจักรยานยนต์สาธารณะ หรือรถนำเที่ยว ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของผู้ประกอบอาชีพให้บริการนั่นเอง โดย พ.ร.บ. ขนส่งทางบก มาตรา 102(1) และกฎกระทรวง พ.ศ. 2555 ระบุว่า “ในขณะขับรถรับจ้าง รถยนต์สาธารณะ ผู้ขับขี่ต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยรัดกุม และสวมใส่รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อ หากฝ่าฝืนจะถูกระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 127”

ดังนั้น การขับรถควรสวมรองเท้าที่เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา รองเท้าขับรถที่ดีควรมีความกระชับพอดี ไม่ลื่นไถล และช่วยให้การควบคุมรถเป็นไปอย่างมั่นคงและปลอดภัย หากไม่ชินการใส่รองเท้าขับรถ ช่วงแรกควรสวมรองเท้าผ้าใบที่สวมใส่สบาย กระชับเท้า และมีพื้นรองเท้าที่ไม่ลื่น หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าแตะ รองเท้าส้นสูง หรือรองเท้าที่หลวมเกินไปขณะขับรถเพื่อความปลอดภัย

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง