ทำเองได้ง่ายๆ ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ในปี 2568
ทำเองได้ง่ายๆ ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ในปี 2568

ทำเองได้ง่ายๆ ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ในปี 2568 

ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ หรือที่บางคนเรียกว่า พ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์ ซึ่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ หรือยานยนต์ต่างๆ ทุกประเภทจำเป็นต้องซื้อหรือต่อทุกปี เพราะ พ.ร.บ. ตัวนี้มีอายุความคุ้มครองเพียง 1 ปีเท่านั้น แต่ว่าในตอนนี้ เราไม่จำเป็นต้องเดินทางและเสียเวลาครึ่งวัน เพื่อออกไป ซื้อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ กันอีกต่อไปแล้ว เพราะตอนนี้มีวิธี ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ได้หลากหลายวิธีทั้งการ ซื้อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ ในเว็บไซต์ของบริษัทประกันภัยต่างๆ รวมไปถึงการ ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ 7 11 และสถานที่ต่างๆ แต่ ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ มีความสำคัญอย่างไร  ไปดูกันเลย

เอกสารที่ใช้ ต่อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์มีอะไรบ้าง?
- สำเนาบัตรประชาชน
- เล่มทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนาก็ได้
- ใบตรวจสภาพรถจาก ตรอ. (กรณีรถจักรยานยนต์อายุที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้น)

ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ได้กำหนดไว้ว่ารถมอเตอร์ไซค์ที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป โดยนับตั้งแต่วันที่จดทะเบียน จะต้องมีการตรวจสภาพมอเตอร์ไซค์ก่อนการต่อพ.ร.บ. ทุกครั้ง หากไม่มีการตรวจสภาพก็จะไม่สามารถต่อภาษีประจำปีได้ ซึ่งการต่อภาษีเป็นการยืนยันว่ารถคันดังกล่าวนั้นถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ใช่รถเถื่อน 

สถานที่ซื้อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์
- กรมการขนส่งทางบกทั่วประเทศ
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ไปรษณีย์ไทย
- ตัวแทนหรือโบรกเกอร์ประกันภัย

(ปัจจุบัน สามารถซื้อผ่านทางออนไลน์ หลายบริษัทประกันภัยมีเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่ให้บริการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ได้สะดวกสบาย)

ทำยังไงถ้าต่อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ที่ 7-11
เอกสารที่ต้องนำไป ต่อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ที่ 7-11

1.สำเนาเล่มทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ 
2.บัตรประชาชนตัวจริง
3.เบอร์โทรศัพท์

ขั้นตอนต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ที่ 7-11

1.นำสำเนาเอกสารไปที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้าน 7-11 ทุกสาขา
2.แจ้งพนักงานว่ามาดำเนินการเรื่องใด ต่อพ.ร.บ.จักรยานยนต์
3.เสียบบัตรประชาชนที่เครื่อง เพื่อสแกนข้อมูล และถ่ายรูปยืนยันตัวตน
4.ชำระเงิน แล้วรอรับเอกสาร

อัตราค่าธรรมเนียม ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์เท่าไหร่หากขาดต่อ 1 ปี
อัตราค่าต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์แตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดและประเภทของรถจักรยานยนต์ สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

- รถจักรยานยนต์เครื่องไม่เกิน 75 ซีซี ต่อ พ.ร.บ. รถ ราคา 161.57 บาท
- รถจักรยานยนต์เครื่อง 75-125 ซีซี ต่อ พ.ร.บ. รถ ราคา 323.14 บาท
- รถจักรยานยนต์เครื่อง 125-150 ซีซี ต่อ พ.ร.บ. รถ ราคา 430.14 บาท
- รถจักรยานยนต์เครื่อง 150 ซีซีขึ้นไป ต่อ พ.ร.บ. รถ ราคา 645.12 บาท

อัตราค่าธรรมเนียม ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์เท่าไหร่ หากขาดต่อเกิน 1 ปี

หากขาดต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์เกิน 1 ปี จะต้องเสียค่าปรับภาษีรถจักรยานยนต์ย้อนหลังเดือนละ 1% ในทุก ๆ เดือน ซึ่งตามปกติแล้วเราจะต้องต่อ พ.ร.บ. พร้อมกับเสียภาษีอยู่แล้ว โดยภาษีรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลทุกรุ่นทุกประเภท คันละ 100 บาท ก็คือเสียค่าปรับเดือนละ 1 บาท โดยใน 1 เดือนแรกหรือ 30 วันหลัง พ.ร.บ. หมดอายุจะยังไม่เสียค่าปรับ

ดังนั้นหากปล่อยให้ พ.ร.บ.ขาดนาน เมื่อต้องการต่อ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ราคาค่าปรับก็จะทบมากขึ้นตามจำนวนเดือน หาก พ.ร.บ. หมดอายุหรือขาดต่อมากเกินกว่า 2 ปีขึ้นไป ทะเบียนรถจักรยานยนต์จะถูกระงับ จำเป็นจะต้องไปยื่นขอจดทะเบียนรถใหม่อีกรอบก่อนที่จะไปยื่นขอต่อ พ.ร.บ.

Share:
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง