ผ่อนรถไม่ไหว อยากขายรถติดไฟแนนซ์ ต้องทำอย่างไร?
รถติดไฟแนนซ์ คืออะไร?
รถติดไฟแนนซ์ คือ การขอสินเชื่อจากธนาคาร/สถาบันการเงิน หรือการขอให้ธนาคาร/สถาบันการเงินออกเงินให้ก่อนเพื่อซื้อรถยนต์ ในกรณีที่คุณมีเงินก้อนไม่พอจ่ายค่ารถในครั้งเดียว โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินเจ้าของสินเชื่อ จะเป็นผู้จ่ายเงินก้อนให้กับบริษัทรถยนต์แทนคุณ และให้คุณผ่อนชำระค่างวดคืนให้กับธนาคารทีหลังจนครบตามกำหนด
รถติดไฟแนนซ์ ขายได้ไหม ขายรถติดไฟแนนซ์ ผิดกฎหมายไหม
ขายรถติดไฟแนนซ์ ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า รถที่ยังติดผ่อนชำระอยู่กับธนาคารหรือไฟแนนซ์นั้น ผู้เช่าซื้อเป็นเพียง "ผู้ครอบครอง" ที่ทำได้แค่เพียงใช้ประโยชน์จากรถที่เช่าซื้อเท่านั้น ส่วน "ผู้ถือกรรมสิทธิ์" ที่แท้จริงยังคงเป็นธนาคารหรือไฟแนนซ์ ดังนั้น ในทางเทคนิคแล้วไม่สามารถนำไปขายต่อได้อย่างถูกกฎหมายโดยสิ้นเชิง ยกเว้นกรณีที่ไฟแนนซ์เป็นผู้ยินยอมให้ขายได้เท่านั้น
วิธีขายรถที่ยังผ่อนไม่หมด ขายรถติดไฟแนนซ์
หากรถติดไฟแนนซ์ของสถาบันทางการเงินใดก็ตาม ผู้ที่ครอบครองรถไม่มีสิทธิ์นำไปขายโดยพลการ แต่ถ้าต้องการขายรถติดไฟแนนซ์จริง ๆ ก็สามารถทำได้ เพียงแต่จะมีวิธีการจะแตกต่างไปจากการขายรถที่ปลอดภาระแล้วสักเล็กน้อย
1. จ่ายเงินสดปิดไฟแนนซ์ก่อนขายรถ
กรณี รถยนต์ติดไฟแนนซ์ อยากขายรถยังผ่อนไม่หมด หากว่าคุณจ่ายเงินสดเพื่อปิดไฟแนนซ์ก่อนขายรถ จะทำให้คุณกลายเป็นเจ้าของรถ 100% และสามารถนำรถยนต์ไปขายต่อได้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือคุณต้องมีเงินสดไปปิดยอดไฟแนนซ์ก่อน ถ้าไม่สามารถทำได้ก็ต้องใช้วิธีขายดาวน์
2. ขายเป็นเงินสด ให้ผู้ซื้อปิดยอด
หากไม่สามารถปิดยอดค้างกับไฟแนนซ์ได้ รถติดไฟแนนซ์อยู่ ก็อาจจะต้องทำการประกาศขายรถเป็นเงินสด และให้ผู้ซื้อไปปิดยอดกับไฟแนนซ์โดยตรง ซึ่งในกรณีนี้ สามารถทำได้ต่อเมื่อยอดค้างชำระไม่สูงไปกว่าราคาขายรถ หากยอดค้างชำระสูงกว่าราคารถ เราอาจต้องช่วยเติมส่วนที่เกินเพื่อให้หมดภาระ แต่ถ้าราคาขายสูงกว่าค่างวดที่เหลือ คุณก็จะได้เงินส่วนต่างจากการขายรถไป
3. ขายดาวน์แบบเปลี่ยนสัญญาให้ผู้ซื้อไปผ่อนต่อ
ถ้าหากผู้ที่จะซื้อรถไม่สะดวกจ่ายเป็นเงินสด อาจจะต้องทำการขายดาวน์ แล้วให้ผู้ซื้อไปทำเรื่องเปลี่ยนสัญญากับไฟแนนซ์ก็ได้ แต่ต้องให้ไฟแนนซ์อนุมัติเสียก่อน การเปลี่ยนสัญญาเพื่อให้ผู้ซื้อนำรถไปผ่อนต่อ เป็นอีกหนึ่งวิธีขายรถที่ยังผ่อนไม่หมด ขายรถติดไฟแนนซ์ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยหากภาระหนี้คงเหลือต่ำกว่าราคาตลาด ณ ขณะนั้น แนะนำว่าให้ใช้วิธีขายดาวน์เพื่อให้ได้มาซึ่งส่วนต่างตามราคาตลาด
ยกตัวอย่างเช่น หากราคาตลาดของรถติดไฟแนนซ์ที่เราอยากขายอยู่ที่ 400,000 บาท แต่มีภาระหนี้คงเหลือรวมแล้วเหลือ 300,000 บาท ก็สามารถเรียกส่วนต่างประมาณ 100,000 บาท เพื่อเป็นเงินดาวน์จากผู้ซื้อได้ แต่หากภาระหนี้คงเหลือเท่ากับหรือมากกว่าราคารถที่ยังติดไฟแนนซ์อยู่ ก็จำเป็นต้องใช้วิธีเปลี่ยนสัญญาเพื่อให้ผู้ซื้อไปชำระค่างวดที่เหลือโดยไม่ได้ส่วนต่างกลับมา พูดง่ายๆ ก็คือ เปลี่ยนสัญญายกรถให้ผู้ซื้อไปดำเนินการผ่อนต่อฟรีๆ นั่นเอง
4. ขายผ่านเต็นท์รถมือสอง
ในกรณีที่ผู้ขายรถมีความจำเป็นต้องใช้เงิน ต้องการรีบขายรถติดไฟแนนซ์แบบเร่งด่วน แต่ไม่สามารถหาผู้ซื้อที่ต้องการ ซื้อรถติดไฟแนนซ์ ได้ การขายรถที่ยังผ่อนไม่หมด รถติดไฟแนนซ์ ผ่านเต็นท์รถมือสอง ก็เป็นอีกทางเลือกที่รวดเร็ว โดยทางเต็นท์รถจะทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับทางไฟแนนซ์ เพื่อดำเนินการปิดบัญชีไฟแนนซ์ แต่โดยมากแล้ว การขายรถติดไฟแนนซ์ วิธีนี้จะค่อนข้างเสียเปรียบ เนื่องจากผู้ขายมักจะถูกกดราคาโดยเต็นท์รถ (ตามกลไกลของธุรกิจ) ทำให้ราคาขายอาจไม่เป็นไปอย่างที่ตั้งไว้
5. เทิร์นรถติดไฟแนนซ์กับโชว์รูมหรือเต็นท์รถโดยตรง
วิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกที่สุดในการ ขายรถติดไฟแนนซ์ เลยก็ว่าได้ เพราะคุณสามารถ เทิร์นรถที่ยังผ่อนไม่หมด กับโชว์รูม หรือเต็นท์ที่คุณต้องการซื้อรถคันใหม่ได้โดยตรง พร้อมทั้งเจรจาต่อรองในเรื่องของราคาส่วนต่างเพื่อเปลี่ยนเป็นรถคันใหม่ หากคุณรับข้อเสนอได้ ทางโชว์รูมหรือเต็นท์รถก็จะช่วยดำเนินการปิดบัญชีไฟแนนซ์รถคันเดิมให้
อย่างไรก็ตาม การขายรถติดไฟแนนซ์ โดยที่ไฟแนนซ์ไม่ยินยอมเป็นไปได้ยาก เพราะจะไม่สามารถดำเนินการโอนได้ แต่ถ้าบังเอิญมีคนรับซื้อรถติดไฟแนนซ์ ผู้ขายก็จะมีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์ และความผิดทางแพ่งหากชำระค่างวดไม่ครบ ส่วนผู้ที่ซื้อรถต่อก็จะมีความผิดเช่นกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 “ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”