"ประมาทร่วม" คืออะไรและที่สำคัญประกันจ่ายไหม?
"ประมาทร่วม" คืออะไรและที่สำคัญประกันจ่ายไหม?

"ประมาทร่วม" คืออะไรและที่สำคัญประกันจ่ายไหม?

ประมาทร่วมคืออะไร ?
ประมาทร่วม คือ เหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากความประมาทของทั้ง 2 ฝ่าย จนทำให้เกิดอุบัติเหตุนั้นขึ้นมา ซึ่งมีความหมายทางกฎหมายว่า “ต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน” แปลตรงตัวได้ว่าทั้งคู่มีความประมาทจนกลายเป็นชนวนให้เกิดอุบัติเหตุ จึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันทั้งคู่

แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าการประมาทร่วม คือ สิ่งที่ไม่มีอยู่ในข้อกฎหมาย เพราะหากมีการใช้คำว่าร่วมขึ้นมา จะแปลว่าอุบัติเหตุนั้นเกิดขึ้นมาโดยเจตนาของทั้งสองฝ่าย ทำให้ต้องมีการแจกแจงเป็นต่างคนต่างประมาทนั่นเอง


ประมาทร่วมแบบนี้ ใครเป็นผู้รับผิดชอบ?
          กรณีหากเกิดการชนจากการประมาทร่วมแบบนี้ มักจะจบกันที่แยกย้ายต่างฝ่ายต่างไปซ่อมรถของตัวเอง ซึ่งถ้าหากใครทำประกันรถยนต์เอาไว้ถือว่าเป็นโชคดี เพราะไม่ต้องควักเงินมาจ่ายค่าซ่อมรถเอง

ประกันรถยนต์แบบไหนคุ้มครองกรณีประมาทร่วมบ้าง?
 

ความคุ้มครองการซ่อมรถยนต์นั้นขึ้นอยู่กับประเภทประกันด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1. ประกันรถยนต์ชั้น 1
ถ้าคุณทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ไม่ต้องกังวลเลย เพราะไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุด้วยกรณีใด จะประมาทร่วม จะเป็นฝ่ายผิด อย่างไรก็ตามประกันรถยนต์ชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองอยู่แล้ว แต่จะเคลมค่าความเสียหายได้เท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและข้อกำหนดในกรมธรรม์ด้วยเช่นกัน

2. ประกันรถยนต์ชั้น 2+ หรือ ประกันรถยนต์ชั้น 3+ 
ถ้าเป็นประกันรถยนต์ 2 ประเภทนี้ ถ้าการประมาทร่วมของคุณคือการชนเข้ากับรถหรือยานพาหนะทางบก ก็ไม่ต้องเป็นกังวลอีกเช่นกัน เพราะเงื่อนไขของประกันรถยนต์ชั้น 2+ และประกันรถยนต์ชั้น 3+ จะให้ความคุ้มครองกรณีรถชนรถ หรือชนกับยานพาหนะทางบกอยู่แล้ว แต่คุณจะต้องสามารถระบุคู่กรณีได้ด้วยว่าใครเป็นคู่กรณีของคุณ ฉะนั้นกรณีประมาทร่วม จบลงที่คุณต้องซ่อมรถตัวเองก็ถือว่ายังโชคดีเพราะสามารถทำเรื่องแจ้งเคลมได้

3. ประกันรถยนต์ชั้น 2 หรือ ประกันรถยนต์ชั้น 3
ใครที่ทำประกัน 2 ประเภทนี้ แล้วเจอกรณีประมาทร่วมหรือเป็นฝ่ายผิด ก็ต้องทำใจไว้ เพราะคุณจะต้องเป็นฝ่ายควักเงินในกระเป๋าออกมาซ่อมรถของคุณเอง แต่หากมีส่วนที่ต้องชดใช้ให้คู่กรณี ตัวประกันรถยนต์ชั้น 2 และประกันรถยนต์ชั้น 3 จะยังให้ความคุ้มครองตามปกติอยู่


ส่วนประกันชั้น 2 และ 3 จะให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิดเท่านั้น

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง