เสาอากาศ “ครีบฉลาม” บนหลังคารถคืออะไร?
เสาอากาศ “ครีบฉลาม” บนหลังคารถคืออะไร?

เสาอากาศ “ครีบฉลาม” บนหลังคารถคืออะไร? 

ทำไมเสาอากาศต้องครีบฉลาม?
หากย้อนกลับไปเมื่อยุค 90 หรือก่อนหน้านั้น รถยนต์ส่วนใหญ่จะยังคงติดตั้งเสาอากาศแบบที่เป็นเสาจริงๆ มาให้ ถ้าเป็นรถราคาแพงขึ้นมาหน่อยก็จะเป็นเสาอากาศแบบไฟฟ้าที่ขึ้น-ลงโดยอัตโนมัติเมื่อเปิดหรือปิดวิทยุ ก่อนที่จะเริ่มทยอยเปลี่ยนไปเป็นเสาอากาศแบบฝังที่กระจกหลังในช่วงยุคปี 2000 ซึ่งช่วยให้การออกแบบตัวรถดูสะอาดตามากยิ่งขึ้น เพราะไม่มีเสาอากาศมาเกะกะกวนใจ

แต่ปัจจุบันรถยนต์หลายรุ่นติดตั้งเสาอากาศแบบครีบฉลามไว้บริเวณหลังคารถส่วนท้าย ซึ่งสาเหตุที่ต้องออกแบบให้มีลักษณะคล้ายกับครีบฉลามก็เพื่อให้มีความลู่ลมมากที่สุดนั่นเอง จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดเสียงรบกวนขณะขับรถด้วยความเร็วสูง และยังช่วยไม่ให้รถสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้นด้วย

ประโยชน์ของเสาอากาศไร้สายแบบ ครีบฉลาม
เสาครีบฉลามช่วยเรื่องความต้านทานในการขับขี่ ลดความต้านทานของอากาศในขณะขับขี่ และยังช่วยป้องกันความเสี่ยงจากไฟฟ้าช็อต ไม่ส่งผลต่อความรู้สึกในการขับขี่ทั้งสิ้น โดยเสาครีบฉลามนี้จะใช้หลักการอากาศพลศาสตร์ จะปล่อยกระแสไฟฟ้าสถิตไปรอบๆ ตัวรถ เปรียบเสมือนเครื่องชาร์ตไฟฟ้าสถิต ที่สามารถเป็นเกราะป้องกันไม่ให้คุณเสี่ยงต่อการโดยฟ้าผ่าขณะที่ขับรถท่ามกลางสายฝน

หลายๆ คนอาจชินตากับเสาอากาศหรือเสารับสัญญาณรถยนต์รุ่นเก่าที่เป็นเสาสันญาณยาวๆ ทั้งแบบหดเก็บได้ หรือจะเป็นการรับสัญญาณแบบฝังกระจกก็มีหลากหลายรูปแบบในปัจจุบันที่รถรุ่นใหม่ๆ มีการออกแบบมาเพื่อความสวยงาม ทั้งนี้ทั้งนั้น การรับสัญญาณของแต่ละประเภท บ้างก็ชอบเสารับสัญญาณแบบเก่าที่สามารถดึงเสาออกมาได้สูงๆ เพื่อรับสัญญาณวิทยุได้ชัดแจ๋ว บ้างก็บอกว่าเสารับสัญญาณแบบฝังกระจก หรือครีบฉลามรับสัญญาณได้ไม่ค่อยดี แต่การดีไซน์ออกมาทำให้รถดูเท่เพียงเท่านั้น แต่ก็มีบางคนที่บอกว่ารับสัญญาณได้ปกติไม่มีปัญหา แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเสาอากาศแบบครีบฉลามเริ่มได้รับความนิยมจากผู้ผลิตรถยนต์ลดลง โดยเปลี่ยนกลับไปเป็นเสาอากาศแบบฝังกระจกเช่นเดิม เนื่องจากเสาอากาศประเภทนี้ต่อให้ออกแบบลู่ลมมากแค่ไหน แต่ยังกระทบต่อหลักอากาศพลศาสตร์ของตัวรถอยู่ดี การกลับไปใช้เสาอากาศแบบฝังกระจกจึงเป็นทางออกที่ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคที่กำลังผันเปลี่ยนไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า ทุกรายละเอียดของการออกแบบล้วนแต่มีความสำคัญเพื่อลดอัตราสิ้นเปลืองให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

Cr. www.krbcar.com , khaorot.com

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง