พ.ร.บ. กับ ภาษีรถยนต์ แตกต่างกันอย่างไร?
พ.ร.บ. กับ ภาษีรถยนต์ แตกต่างกันอย่างไร?

พ.ร.บ. คืออะไร?

พ.ร.บ. หมายถึง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นประกันภัยภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดให้รถที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกทุกคันจะต้องจัดทำและมีไว้เป็นหลักประกัน เพื่อให้ผู้ที่ประสบภัยจากรถจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากวงเงินรักษาพยาบาล รวมถึงเงินชดเชยกรณีเสียชีวิต โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ให้ความคุ้มครองผู้ขับขี่, ผู้โดยสาร และผู้เดินเท้า ที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ
จ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 30,000 บาท โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดถูกหรือผิด
จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ฝ่ายถูกสูงสุด 80,000 บาท
การชำระภาษีรถประจำปีจำเป็นต้องมี พ.ร.บ. ทุกครั้ง โดยจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากวันที่ชำระภาษี

ภาษีรถยนต์ คืออะไร?

ภาษีรถยนต์ หรือ เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี แสดงให้เห็นว่ารถคันนี้ได้จดทะเบียนตามกฎหมายอย่างถูกต้องกับกรมการขนส่งทางบก และชำระภาษีประจำปีเรียบร้อยแล้ว โดยกฎหมายได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการต่อภาษีประจำปี ไว้ดังนี้

การใช้รถโดยไม่ต่อภาษี มีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท
การไม่แสดงป้ายภาษี มีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท
หากขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี จะถูกระงับทะเบียนทันที หากนำรถไปใช้จะมีความผิดตามกฎหมาย ต้องนำรถมาตรวจสภาพและยื่นขอจดทะเบียนใหม่ พร้อมชำระภาษีและค่าธรรมเนียมที่ค้างอีกด้วย 

 

Share:
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง