อัปเดตโทษเมาแล้วขับ 2568 มีโทษอย่างไรบ้าง?
อัปเดตโทษเมาแล้วขับ 2568 มีโทษอย่างไรบ้าง?

อัปเดตโทษเมาแล้วขับ 2568 มีโทษอย่างไรบ้าง?

เมาแล้วขับ ผิดกฎหมาย เจอโทษอะไร อัปเดต 2568
กฎหมายจราจรทางบก และระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถ ฉบับล่าสุด ที่มีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมการขนส่งทางบก เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ควบคุมการขับขี่ภายใต้ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์และสารเสพติด หรือควบคุมผู้ที่เมาแล้วขับรถ 

1. เพิ่มโทษที่เป็นปัจจัยต่อการเกิดอุบัติเหตุ เป็นปัจจัยเสี่ยง ในการสูญเสียของผู้ขับขี่และผู้ใช้ทาง

เพิ่มโทษปรับ

- ขับรถเร็วเกินกำหนด ปรับไม่เกิน 4,000 บาท (เดิม ปรับ 500-1,000 บาท)
- ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง ปรับไม่เกิน 4,000 บาท (เดิม ปรับ 500-1,000 บาท)
- ไม่หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย ปรับไม่เกิน 4,000 บาท (เดิม ปรับ 500-1,000 บาท)
- ขับรถย้อนศร ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (เดิม ปรับไม่เกิน 500 บาท)
- จอดรถในที่ห้ามจอด ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (เดิม ปรับไม่เกิน 500 บาท)
- ไม่สวมหมวกนิรภัย ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (เดิม ปรับ 400 บาท)
- ไม่รัดเข็มขัดนิรภัย ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (เดิม ปรับ 400 บาท)
- เพิ่มโทษผู้ขับขี่ที่ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่น

เพิ่มอัตราโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (เดิมจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 2,000 - 10,000 บาท)

2. ปริมาณแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่ที่เข้าข่ายเมาแล้วขับ

ผู้ขับขี่ทั่วไปที่มีอายุเกิน 20 ปี และมีใบขับขี่ (แบบ 5 ปี หรือตลอดชีวิต) หากปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะถือว่าเมาแล้วขับ 
ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่ได้รับใบขับขี่ชั่วคราว หรือไม่มีใบขับขี่ หรือถูกเพิกถอนใบขับขี่ หรือมีใบขับขี่รถประเภทอื่นที่ใช้แทนกันไม่ได้ หากมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด เกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะถือว่าเมาแล้วขับ

3. เพิ่มโทษผู้ขับขี่ที่กระทำผิดซ้ำข้อหาเมาแล้วขับ

คดีเมาแล้วขับเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 160 ตรี ผู้ที่มีความผิดจะต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลสามารถสั่งพักใช้ใบขับขี่ได้ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบขับขี่ 

เมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท หรือจำคุกตั้งแต่ 1 - 5 ปี และให้ศาลสั่งพักใช้ใบขับขี่ กำหนดไม่ต่ำกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบขับขี่
เมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 40,000 - 120,000 บาท หรือจำคุกตั้งแต่ 2 - 6 ปี โดยศาลสามารถสั่งพักใช้ใบขับขี่ได้ไม่ต่ำกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใบขับขี่
เมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 60,000 - 200,000 บาท หรือจำคุกตั้งแต่ 3 - 10 ปีและให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
ผู้ขับขี่ที่กระทำผิดซ้ำข้อหาเมาแล้วขับ กรณีที่ทำความผิดครั้งแรกจะมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 - 20,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ หากทำผิดซ้ำภายใน 2 ปี (นับตั้งแต่วันที่กระทำความผิดครั้งแรก) จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่กฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 160 (ตรี/1 ตรี/2 และตรี/3) ถูกเพิ่มโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับตั้งแต่ 50,000 - 100,000 บาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบขับขี่ไม่ต่ำกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ 

4. คดีเมาแล้วขับกับการประกันภัยคุ้มครอง

- พ.ร.บ. รถยนต์ หรือประกันภาคบังคับ จะให้ความคุ้มครองผู้เอาประกัน รวมถึงคู่กรณีในส่วนของค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาล แต่จะไม่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถ 

- ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ หากปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะไม่ให้ความคุ้มครองทุกกรณี เนื่องจากเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เว้นแต่ว่าหากปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จึงจะให้ความคุ้มครองทั้งผู้เอาประกันและคู่กรณี
ข้อแนะนำ 

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ คือ การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับรถ หรือหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ใช้บริการรถสาธารณะ แท็กซี่ หรือเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน หรือมอบหมายให้คนอื่นที่ไม่ได้ดื่มช่วยขับรถให้ 

ที่มา กรมการขนส่งทางบก, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง