ไขข้อสงสัย? พ.ร.บ. กับ ภาษี  จำเป็นต้องต่อพร้อมกันมั๊ย?
ไขข้อสงสัย? พ.ร.บ. กับ ภาษี จำเป็นต้องต่อพร้อมกันมั๊ย?

ไขข้อสงสัย? พ.ร.บ. กับ ภาษี  จำเป็นต้องต่อพร้อมกันมั๊ย?

พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร?
พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นการประกันภัยภาคบังคับที่คุ้มครองผู้เสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยไม่คำนึงว่าใครเป็นฝ่ายผิด ผู้เสียหายสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ทุกปี

พ.ร.บ. สำคัญอย่างไร?
- คุ้มครองผู้เสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

- สร้างความมั่นใจผู้ใช้รถใช้ถนนมั่นใจว่าได้รับการคุ้มครองอย่างแน่นอน

- ลดภาระค่าใช้จ่าย คือ ผู้เสียหายไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งหมด

- ส่งเสริมความปลอดภัยเพื่อเป็นกระตุ้นให้ผู้ขับขี่ใช้รถใช้ถนนอย่างระมัดระวังมากยิ่งขึ้น

ไม่ต่อพ.ร.บ. กับภาษีรถยนต์ผิดกฎหมายไหม มีโทษอะไรบ้าง
การไม่ต่อทั้ง พ.ร.บ. กับภาษีรถยนต์ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย มีบทลงโทษที่รุนแรง และอาจส่งผลกระทบต่อการใช้รถของคุณ

ภาษีรถยนต์ คืออะไร?
ภาษีรถยนต์ คือ เงินที่เจ้าของรถต้องจ่ายให้กับกรมการขนส่งทางบก เป็นค่าธรรมเนียมในการใช้รถบนท้องถนน เงินภาษีที่ได้จะนำไปพัฒนาและบำรุงรักษาถนนหนทาง รวมไปถึงสนับสนุนงานด้านความปลอดภัยจราจร เช่นเดียวกับพ.ร.บ. ก็คือ ต้องมีการจ่ายภาษีหรือต่อภาษีรถยนต์ทุกปีด้วยเช่นกัน หากไม่ทำการต่อภาษีก็จะมีค่าปรับภาษีตามมานั่นเอง

พ.ร.บ. กับ ภาษี ต้องต่อพร้อมกันไหม?
สำหรับคำถามนี้หากคนที่เพิ่งมีรถยนต์คันแรกก็คงจะไม่รู้เรื่องมากนัก และเกิดข้อสงสัยว่า พ.ร.บ.รถยนต์ และ ภาษีรถยนต์ ต้องต่อพร้อมกันไหม ซึ่งเราก็ต้องขอบอกเลยว่า “ไม่จำเป็นต้องต่อพร้อมกัน” แต่มักจะทำพร้อมกัน

เนื่องจากการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่และการชำระภาษีรถยนต์มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันและต้องมีเอกสารพร้อมกันในการดำเนินการทั้งสองอย่าง การต่อพร้อมกันจะช่วยให้รถยนต์ได้รับสิทธิ์ในการใช้งานอย่างถูกต้องและถูกกฎหมายในประเทศไทยได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายยิ่งขึ้น แต่หากมีเหตุผลที่ทำให้ต้องดำเนินการแยกกันก็ยังสามารถทำได้โดยไม่มีปัญหาตามกฎหมาย 

ในกรณีที่ต้องการคำแนะนำและข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินการ แนะนำให้ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางบก หรือเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาด้านกฎหมายเกี่ยวกับยานยนต์ เพื่อขอคำปรึกษาและคำแนะนำที่ถูกต้องตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ของท่านในขณะนั้น โดยที่จะไม่กระทบต่อสิทธิ์และความปลอดภัยในการใช้งานรถยนต์ของเรานั่นเอง

สรุปบทความ ไม่จำเป็นต้องต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ กับ ภาษีรถยนต์ พร้อมกัน แต่ต้องต่อทั้งสองอย่างทุกปี และควรต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ก่อนต่อภาษีหากเป็นกรณีที่ไม่ต่อพร้อมกัน แต่หากสะดวกที่จะต่อพร้อมกันก็สามารถทำได้และไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใดทั้งนั้น

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง