บีบแตรรถยนต์อย่างไรให้ถูกหลัก ลดความเสี่ยงทะเลาะวิวาท เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน
บีบแตรรถยนต์อย่างไรให้ถูกหลัก ลดความเสี่ยงทะเลาะวิวาท เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน

บีบแตรรถยนต์อย่างไรให้ถูกหลัก ลดความเสี่ยงทะเลาะวิวาท เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน 

ในทุกวันนี้ มักจะเห็นข่าวที่มาจากการการกระทบกระทั่งกันบนรถถนนไม่ใช่น้อย โดยหนึ่งในสาเหตุคือมาจากความไม่พอใจที่ “ถูกบีบแตรใส่เสียงดัง” จนกลายเป็นเรื่องราวดราม่าในโลกออนไลน์ ซึ่งจริงๆแล้ว “แตรรถยนต์” ถือเป็นสัญญาณเตือนที่ช่วยลดอุบัติเหตุได้ อีกทั้ง “การบีบแตร” ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดหรือเสียมารยาทอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพียงรู้จักและใช้อย่างเข้าใจในความหมายของมัน

เสียงบีบแตรรถยนต์ที่แสนธรรมดา อาจทำให้เทพบุตรนางฟ้า กลายเป็นซาตานนางมารในพริบตาถ้าเสียงแตรนั้นไม่เป็นมิตรกับเพื่อนร่วมถนน โดยข้อมูลจาก ขับขี่ปลอดภัย by DLT ของกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ได้ระบุ วิธีการใช้แตรรถยนต์ที่ถูกกฎหมายและปลอดภัย ดังนี้

- ใช้เมื่อพบเห็นอันตรายหรือเหตุฉุกเฉิน ส่งสัญญาณเตือน ให้คนรอบข้างตระหนักรู้ เช่น พบรถที่ขับอยู่หลุดการควบคุม จึงบีบแตรเตือนให้คนที่อยู่ในวิถีรถระวังและออกห่าง

- ใช้เตือนให้ระวัง ให้รู้ว่ามีรถเราอยู่ เช่น บีบแตรสั้นๆ ปี๊ด เตือนมอเตอร์ไซค์ที่ขับกินเลนออกมา หรือ มีรถเบียดชิดรถเราจนเกินไป จึงบีบแตรเตือน

- ใช้เตือนให้รู้สึกตัว เช่น รถคันหน้าจอดแช่ ทั้งที่ไฟเขียวแล้ว จึงบีบเตือนให้ออกตัว

- การบีบแตรใช้เมื่อจำเป็น หรือ ป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น

- การใช้เสียงแตรดังยาว ซ้ำกันหลายๆ ครั้งเพื่อก่อกวน ระเบิดอารมณ์ มีโทษทางกฎหมาย เสี่ยงต่อการทะเลาะวิวาท สร้างความเดือดร้อนมาสู่ตัวคุณได้

อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 14 ระบุว่า การใช้เสียงสัญญาณ ผู้ขับขี่จะใช้ได้เฉพาะเมื่อจำเป็นหรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น แต่จะใช้เสียงยาวหรือซ้ำเกินควรไม่ได้

หากทำผิดมาตรา 14 วรรค 2 จะมีบทลงโทษตามมาตรา 150 (1) โดยมีโทษปรับ 500 บาท รวมถึงสถานที่ที่มีป้ายงดใช้เสียงด้วย อาทิ วัด โรงพยาบาล โรงเรียน เขตพระราชฐาน เพื่อไม่ให้เสียงสัญญาณแตรไปรบกวนในเขตที่ติดตั้งป้ายเหล่านั้น ซึ่งหากฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษปรับตามมาตรา 148 ด้วย โดยมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก 

Share:
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง