คนพิการทําใบขับขี่ได้ไหม หรือพิการแบบไหนขับรถได้?
ผู้พิการก็สามารถขับรถและสามารถทำใบขับขี่ได้ทั้งรถยนต์ และมอเตอร์ไซค์ รวมถึงรถ 3 ล้อ ซึ่งหากใครไปห้างสรรพสินค้า ปั๊มน้ำมัน หรือตามสถานที่ต่าง ๆ จะเห็นได้ว่ามีที่จอดรถสำหรับผู้พิการให้เห็นอยู่เสมอ แต่พิการแบบไหนทำใบขับขี่รถได้ มีขั้นตอนอย่างไร และสามารถทำใบขับขี่สาธารณะได้ด้วยหรือไม่
พิการแบบไหนขับรถได้
ต้องบอกเลยว่าคนพิการนั้นสามารถขับรถ และทำใบขับขี่ได้เหมือนกัน ถึงแม้ว่าจะมีข้อกำหนดว่าร่างการต้องไม่บกพร่องก็ตาม ถ้าหากมีบัตรคนพิการก็สามารถเข้ามาสอบใบขับขี่ได้เช่นกัน แต่ต้องเป็นในกรณีที่พิการไม่มากหรือไม่ถึงขั้นที่ส่งผลต่อการขับรถ อย่างเช่น ผู้พิการทางการพูด ผู้พิการที่สูญเสียแขน ขา ข้างใดข้างนึง หรือผู้พิการทางสายตาข้างใดข้างนึง เป็นต้น โดยทั้งหมดนี้ในใบรับรองแพทย์จะต้องมีการระบุด้วยว่าสามารถขับรถได้ ไม่เป็นอุปสรรคหรือส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุนั่นเอง
หากเป็นผู้พิการทางดวงตาข้างใดข้างนึง จะต้องใช้ใบรับรองแพทย์ตามแบบที่กรมขนส่งทางบกกำหนด โดยให้จักษุแพทย์เป็นผู้ออกใบรับรองเท่านั้น ว่าอีกข้างยังสามารถใช้ได้ปกติดี
ในกรณีที่เป็นผู้พิการทางหูหรืออวัยวะ เช่น หูตึง หูหนวก (ใส่เครื่องช่วยได้ยินหรือผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมแล้ว) แขน ขา (ไม่มี 1 ข้าง) ต้องใช้ใบรับรองแพทย์สำหรับแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญการรักษาเฉพาะโรครับรอง
สำหรับคำถามที่ว่าแล้วคนหูหนวกขับรถได้ไหม ซึ่งในทางกฎหมายนั้นคนหูหนวกจะไม่สามารถขับรถได้ เพราะเนื่องจากว่า เมื่อถึงเวลาที่น่าจะเกิดอุบัติเหตุ หรือมีเสียงสัญญาณต่างๆ คนหูหนวกจะไม่ได้ยินซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายได้ แต่ถ้าเป็นผู้พิการที่หูนวกแต่มีการใส่เครื่องช่วยได้ยิน หรือได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมแล้ว ก็อาจจะทำใบขับขี่ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้ตรวจ
ทั้งนี้ทั้งนั้นทางเจ้าหน้าที่อาจมีการสอบถามเพิ่มเติมควบคู่ไปกับดุลยพินิจ ซึ่งจะมีการพิจารณาเป็นรายบุคคล หากเจ้าหน้าที่แจ้งว่าผ่าน ก็สามารถเข้าไปสอบใบขับขี่ได้เลย
คนพิการแบบไหนขับรถและทำใบขับขี่ได้
คนพิการ มีความหมายถึง คนหูหนวกหรือหูตึง หรือคนตาพิการหรือตาบอดหนึ่งข้าง หรือคนพิการนิ้ว มือ แขน ขา หรือลำตัว โดยไม่รวมถึงคนพิการทางสมองหรือบุคคลที่แพทย์วินิจฉัยว่ามีสภาพพิการจนไม่สามารถขับรถได้
อย่างไรก็ตาม ผู้พิการที่สามารถทำใบขับขี่ได้นั้นต้องเป็นความพิการที่ไม่ส่งผลต่อการขับขี่รถ และจะต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่าสามารถขับรถได้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการขับขี่หรือก่อให้เกิดอุบัติเหตุ แต่ทั้งนี้ ผู้พิการจะไม่สามารถทำใบขับขี่สาธารณะได้
ทำใบขับขี่คนพิการใช้เอกสารอะไรบ้าง
- บัตรประชาชน
- บัตรผู้พิการ หรือใบรับรองแพทย์อายุไม่เกิน 1 เดือน (ใบรับรองจากแพทย์เฉพาะทาง เพื่อแสดงว่าสามารถควบคุมบังคับรถได้)
- ทำใบขับขี่คนพิการมีขั้นตอนอย่างไร
จองคิวทำใบขับขี่ล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือเว็บไซต์ gecc.dlt.go.th ของกรมการขนส่งทางบก
- เข้าทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
- อบรมตามหลักสูตร 2 ชั่วโมง (สามารถอบรมได้จากโรงเรียนการขนส่ง กรมการขนส่งทางบก หรือโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง หรือหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนที่ได้ทำความตกลงกับกรมการขนส่งทางบก หรือผ่านช่องทาง วิธีการอื่นที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดไว้)
- สอบข้อเขียน โดยจะต้องผ่าน 75% หรือทำได้ 23 ข้อ จาก 30 ข้อขึ้นไป กรณีไม่ผ่านสามารถสอบแก้ตัวได้ 1 ครั้ง หากไม่ผ่านอีกจะสอบได้อีกครั้งในวันถัดไป
สอบขับรถ โดยผู้สอบจะต้องสอบท่าบังคับ คือ การขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า และให้เลือกทดสอบอีก 2 ท่า จากท่าทดสอบทั้งหมด 7 ท่า คือ
- การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
- การขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย
- การหยุดรถและออกรถบนทางลาด
- การกลับรถ
- การขับรถเดินหน้าเข้าจอดในช่องที่เป็นมุมฉาก
- รถยนต์ดัดแปลงคนพิการ ต้องเป็นแบบไหน
การดัดแปลงรถสำหรับผู้พิการนั้นไม่ถือว่าผิดกฎหมายแต่อย่างใด แต่การดัดแปลงรถต้องดัดแปลงให้เหมาะสมกับร่างกายของบุคคลนั้นๆ อาทิเช่น หากเป็นผู้พิการทางขา ก็อาจจะมีการติดตั้งเสริมอุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือให้สามารถใช้เบรกหรือคันเร่งได้โดยไม่ต้องใช้ขา หรืออุปกรณ์ช่วยหมุนพวงมาลัย สำหรับผู้พิการทางแขน เป็นต้น โดยการดัดแปลงรถยนต์ หรือติดตั้งเสริมอุปกรณ์ให้กับรถประเภทนี้จะต้องใช้วิศวะกรผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้มั่นใจว่าการขับขี่จะปลอดภัย รวมถึงให้คำปรึกษาว่าต้องดัดแปลงแบบไหน ถึงจะถูกต้องตามกฎหมายด้วยเช่นกัน
การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
กรณีรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลสำหรับคนพิการที่แปรสภาพมาจากรถจักรยานยนต์ ซึ่งไม่มีเกียร์ถอยหลัง ให้ได้รับยกเว้นการทดสอบขับรถท่าที่ต้องถอยหลัง
ทั้งนี้เมื่อถึงเวลาต่อใบขับขี่คนพิการ ผู้พิการจะต้องทำการสอบขับรถใหม่ทุกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่ายังสามารถขับรถได้ดีเป็นปกติ