รถเบรกแตกหยุดไม่อยู่ต้องทำอย่างไรถึงจะปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุ
รถเบรกแตกหยุดไม่อยู่ต้องทำอย่างไรถึงจะปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุ

รถเบรกแตกหยุดไม่อยู่ต้องทำอย่างไรถึงจะปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุ

รถเบรกไม่อยู่ทำอย่างไรได้บ้าง?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าความผิดปกติของระบบเบรกจนทำให้เบรกไม่อยู่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก เว้นแต่กรณีละเลยการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม จนทำให้ระบบเบรกเสื่อมสภาพ หรือการติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งอย่างฝาครอบเบรกเพื่อเลียนแบบคาลิเปอร์เบรกราคาแพง จนทำให้เกิดความร้อนสะสมสูงกระทั่งระบบเบรกไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะหยุดรถได้ทัน

รถเบรกแตก เกิดจากสาเหตุใด

1.น้ำมันเบรกเสื่อมสภาพ
น้ำมันเบรกเสื่อมสภาพเป็นสาเหตุแรกที่ทำให้รถเบรกแตก เพราะอาจส่งผลให้ลูกยางในกระบอกปั๊มล้อที่ทำหน้าที่ป้องกันน้ำมันรั่วเสื่อมสภาพตามไปด้วย และจะทำให้น้ำมันเบรกเกิดการรั่วซึมออกมาเรื่อยๆ ซึ่งผู้ใช้รถสามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ง่ายๆ คือการถอดล้อ และนำจานเบรกออกมาเปิดดูยางกันฝุ่นที่ครอบตัวกระบอกปั๊มเอาไว้ ว่ามีน้ำมันเบรกรั่วออกมาหรือไม่ หากมีก็ให้ทำการเปลี่ยนทันที

2.สายอ่อน หรือท่อทางเดินน้ำมันเบรกรั่ว
อาการนี้สามารถสังเกตได้ง่ายๆ คือ ให้ดูที่สายว่ามีคราบหรือรอยซึมของน้ำมันเบรกไหลออกมาหรือไม่

3.แรงดันของน้ำมันเบรกมาไม่เต็มระบบ
อาการนี้เกิดขึ้นจากการที่มีอากาศอยู่ในระบบน้ำมันเบรก ซึ่งอาจเกิดจากการที่ไล่อากาศหรือไล่ลมออกไปไม่หมด เมื่อทำการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องใหม่ จึงส่งผลให้แรงดันน้ำมันเบรกไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่

4.น้ำมันเบรกหมดหรือเหลือน้อย
หากเกิดเหตุน้ำมันเบรกหมดหรือเหลือน้อย จะส่งผลให้เบรกใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ นั่นก็คือ เบรกไม่ค่อยอยู่ หรือเบรกจมลึกกว่าปกติ ให้ทำการตรวจเช็กและรีบเติมน้ำมันเบรกให้ถึงระดับที่กำหนดเพื่อความปลอดภัย

5.น้ำมันเบรกชื้น
ขณะที่เหยียบเบรก เบรกจะมีความร้อนและเกิดการเสียดสีขึ้น หากน้ำมันเบรกมีความชื้นผสมอยู่ น้ำมันจะระเหยกลายเป็นไอทำให้ลูกสูบไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ จนส่งผลให้รถเบรกแตกหรือไม่เบรกไม่อยู่นั่นเอง

6.สายเบรกขาด
ในกรณีนี้อาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย ซึ่งก่อนออกรถทุกครั้งควรทำการตรวจเช็กเสมอ ด้วยการดูใต้ท้องรถว่ามีน้ำมันรั่วหรือไม่ และก่อนที่จะออกรถให้ทดสอบด้วยการเหยียบเบรกดูว่าเบรกอยู่หรือไม่

7.ผ้าเบรก
หากผ้าเบรกหมดหรือผ้าเบรกไหม้ ก็มีโอกาสที่จะทำให้รถเบรกไม่อยู่หรือรถเกิดเบรกแตกได้

 

หากรถเกิดอาการเบรกไม่อยู่ขึ้นมาจริงๆ ยังพอมีวิธีที่ช่วยหยุดรถได้อย่างทันท่วงที ดังต่อไปนี้

1. เหยียบเบรกย้ำๆ - ปัญหารถเบรกไม่อยู่อาจเกิดได้จากการมีอากาศอยู่ในระบบเบรก การเหยียบเบรกซ้ำๆ จะช่วยไล่อากาศออกไป ทำให้ระบบเบรกกลับมาทำงานดังเดิม แต่ทางที่ดีควรรีบนำรถเข้ารับการซ่อมแซมระบบเบรกเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำ

2. ลดเกียร์ต่ำ - การลดเกียร์ลงต่ำทำได้ทั้งรถเกียร์ธรรมดาและเกียร์อัตโนมัติ โดยรถเกียร์ธรรมดาให้เข้าเกียร์ 2 หรือ 1 แล้วปล่อยคลัตช์ จะทำให้ความเร็วลดลงอย่างรวดเร็ว (อาจมีอาการเข้าเกียร์ยากหากรถวิ่งด้วยความเร็วสูง) จากนั้นใช้เบรกมือเข้าช่วยเมื่อรถใกล้หยุด

ส่วนเกียร์อัตโนมัติให้ผลักคันเกียร์มาที่ตำแหน่ง 2 หรือ 1 หรือ L หากเป็นเกียร์ระบบบวกลบ (+ / -) ให้ผลักคันเกียร์ไปที่ตำแหน่งลบ (-) เรื่อยๆ จนกว่ารถจะชะลอตัว (เหตุที่ต้องคอยผลักเกียร์ลงเรื่อยๆ เพราะหากรถใช้ความเร็วสูง กล่องอีซียูมักไม่ยอมลดตำแหน่งเกียร์ลงให้หากใช้ความเร็วสูงเกินกำหนดของแต่ละตำแหน่งเกียร์) จากนั้นเมื่อรถใกล้หยุดให้ใช้เบรกมือเข้าช่วย

3. ดึงเบรกมือ - การหยุดรถด้วยการดึงเบรกมือถือเป็นเรื่องอันตราย เพราะอาจทำให้ล้อหลังล็อกตายจนเกิดอาการเสียหลักได้ แต่หากมีความจำเป็นต้องลดความเร็วด้วยวิธีดึงเบรกมือ ให้ดึงขึ้นอย่างนุ่มนวลเพื่อป้ิองกันไม่ให้ล้อหลังล็อกตาย หากพบว่ารถมีอาการเป๋เนื่องจากล้อล็อก ให้ลดแรงดึงก้านเบรกมือลงเล็กน้อยเพื่อไม่ให้ล้อล็อกจนกว่ารถจะหยุดนิ่ง

4. ดึงเบรกมือไฟฟ้าค้างไว้ - กรณีรถเป็นระบบเบรกมือไฟฟ้า สามารถใช้งานเบรกไฟฟ้าฉุกเฉินได้ด้วยการดึงสวิตช์เบรกมือไฟฟ้าค้างไว้ รถจะค่อยๆ ชะลอความเร็วลงโดยไม่ทำให้ล้อหลังล็อกตายเหมือนกับการดึงเบรกมือปกติ

เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ทุกครั้ง ควรตรวจสอบว่าระบบเบรกทำงานปกติดีหรือไม่…โดยสามารถเช็กได้ด้วยตนเอง ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ดังต่อไปนี้…

1. เปิดฝากระโปรงหน้ารถ ตั้งขาค้ำฝากระโปรงให้แข็งแรง
2. เช็กกระปุกน้ำมันเบรก ตรวจสอบให้ระดับน้ำมันเบรกให้อยู่ระหว่าง FULL เสมอ
3. น้ำมันเบรกต้องมีความใส หากเริ่มมีสีดำคล้ำต้องรีบเปลี่ยนใหม่ทันที
4. ตรวจดูหม้อลมเบรก ว่ายังอยู่ในสถาพดี พร้อมใช้งานเสมอหรือไม่
5. ตรวจสอบระบบเบรก ABS ว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่
6. จากนั้นจึงตรวจเช็กสายน้ำมันเบรกให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน (อยู่บริเวณล้อ)
7. ตรวจดูจานเบรก ว่าบางและมีรอยสึกเสมอกันทั่วทั้งวงหรือไม่ ถ้าบางมากควรเปลี่ยนให้ไว
8.ตรวจเชคผ้าเบรก โดยใช้ไฟฉายส่องดูแนวร่องกลางผ้าเบรก ถ้าร่องเริ่มตื้น แสดงว่าถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแล้ว
9. ตรวจดูชุดคาลิเพอร์เบรก ให้สามารถประกบผ้าเบรกกับจานเบรกได้แนบสนิท
10. ในกรณีที่เป็นระบบเบรกแบบดุม ต้องถอดออกมาเช็ก และให้เปลี่ยนผ้าเบรกตามกำหนดก็เพียงพอ
11. ตรวจเช็กระยะเบรกจากแป้นเบรก ว่าระยะเบรกมีความตื้นหรือลึกแบบพอดีไหม

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเลือกวิธีใดในการชะลอความเร็วของรถ จำไว้เสมอว่าห้ามดับเครื่องยนต์อย่างเด็ดขาด! เพราะอาจทำให้พวงมาลัยล็อก ระบบเบรกจะถูกตัดการทำงานโดยสิ้นเชิง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงเพิ่มขึ้นไปอีกได้

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง