แนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อมีเกิดเหตุฉุกเฉินบนรถบัส มีทางออกฉุกเฉินกี่จุดตรงไหนบ้าง?
แนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อมีเกิดเหตุฉุกเฉินบนรถบัส มีทางออกฉุกเฉินกี่จุดตรงไหนบ้าง?

แนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อมีเกิดเหตุฉุกเฉินบนรถบัส มีทางออกฉุกเฉินกี่จุดตรงไหนบ้าง?

3 สิ่งสำคัญ ที่ถือว่าเป็นอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยที่รถบัสทุกคันต้องมี และผู้โดยสารทุกคนควรสังเกต มีดังนี้

1. ถังดับเพลิง
2. ประตูฉุกเฉิน
3. ค้อนทุบกระจก

โดยเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยบรรเทาความร้ายแรง ของเหตุฉุกเฉินที่กำลังเกิดขึ้น และเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยทำให้ผู้โดยสารออกจากห้องโดยสาร

1. ประตูทางออกฉุกเฉิน

– ผู้โดยสารควรมองหาประตูรถทางออกฉุกเฉิน เพราะ จะช่วยให้ออกจากตัวรถบัสได้ในขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน 
– ประตูรถทางออกฉุกเฉิน จะต้องมีสัญลักษณ์บ่งบอก หรือ มีสัญลักษณ์แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งภายในและภายนอกตัวรถ ว่าเป็นตำแหน่งของประตูฉุกเฉิน
– ถ้าเป็นประตูทางออกที่อยู่ “ด้านท้าย” ของตัวรถ ต้องมีข้อความว่า “ทางออกฉุกเฉิน” เป็นอักษรภาษาไทย และความสูงไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร สีแดงสะท้อนแสง ติดอยู่เหนือบริเวณที่เปิดปิดประตู หรือบริเวณขอบประตูด้านบนทางออกฉุกเฉิน ให้สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
– ถ้าไม่อยู่ด้านท้ายของรถ ประตูฉุกเฉินจะต้องมีขนาดทางออกไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร และความสูงไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร อยู่ในตำแหน่ง “ด้านขวากลาง” ของตัวรถ หรืออาจจะค่อนไปทางท้ายรถ ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ 
– ประตูฉุกเฉินจะต้องสามารถเปิดได้ โดยไม่ต้องใช้กุญแจหรืออุปกรณ์ใดๆ และต้องเปิดได้เต็มทั้งส่วนกว้างและความสูง จึงต้องไม่มีสิ่งติดตั้งถาวรกีดขวางทางออกนี้ เพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน

2. ถังดับเพลิง


– รถบัสทุกคันจะต้องมี เพื่อไว้ใช้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน เมื่อมีไฟลุกขึ้นที่บริเวณห้องโดยสาร ภายในห้องโดยสารส่วนใหญ่ จะมีการติดตั้งถังดับเพลิงขนาด 2 ปอนด์ ไว้อย่างน้อย 2 ตำแหน่ง คือบริเวณ “เบาะหน้า” ใกล้คนขับ และบริเวณ “ที่นั่งด้านหลัง” หรือ “ตรงกลาง” ของห้องโดยสาร เพื่อให้สามารถหยิบใช้งานได้ง่าย 
– เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ให้ดึงสลักล็อกที่บริเวณคันบีบออก จากนั้นให้ปลดสายฉีดออกจากตัวถัง หันปากสายฉีดไปที่ “ฐาน” กองไฟ แล้วกดคันบีบแล้วส่ายสายฉีด เพื่อให้สารที่พ่นออกมาจากถังดับเพลิง พ่นให้ทั่วทั้งกองไฟ
– ไม่ควรฉีดไปที่เปลวไฟ เพราะเป็นการใช้แบบผิดวิธี ทำให้ไฟไม่ดับ 
– ควรยืนห่างจากกองไฟประมาณ 6-8 ฟุต เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

3. ค้อนทุบกระจก


– รถบัสทุกคันจะต้องมีค้อนทุบกระจก หรืออุปกรณ์ที่มีด้ามจับสีแดง มีหัวเหล็กลักษณะกลมๆ ยื่นออกมา ส่วนมากติดอยู่ใกล้ๆ กระจกข้างรถ ควรมีไว้สำหรับการกรีด หรือทุบกระจก เพื่อเปิดเป็นทางออกฉุกเฉิน สามารถทุบเปิดกระจกได้เร็วกว่าของแข็งอื่นๆ
– สามารถดึงออกจากแท่นเก็บ จากนั้น จับด้ามให้แน่น แล้วใช้ปลายแหลม “กรีด” ลงที่กระจกให้เป็นรอย แล้วใช้ปลายค้อน ทุบที่แนวกรีด กระจกก็จะแตกละเอียด

ข้อแนะนำอื่นสำหรับการเดินทาง
1. เลือกเดินทางกับบริษัทผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ มีการตรวจเช็กสภาพรถก่อนออกเดินทาง และเป็นบริษัทที่ไม่มีประวัติการเกิดอุบัติเหตุหนัก ซึ่งท่านสามารถเช็กได้กับกรมการขนส่งทางบก
2. บนรถบัสทุกคันจะต้องมีเข็มขัดนิรภัยอัตโนมัติอย่างน้อย 2 จุด ทุกที่นั่ง เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารในขณะเดินทาง
3. ในขณะเดินทาง ผู้โดยสารควรสังเกตอาการของพนักงานขับรถ ว่ามีอาการมึนเมา หาวบ่อย หรือขับรถเร็วเกินไปหรือไม่ หากพบความผิดปกติควรโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ จุดตรวจของกรมขนส่ง หรือบริษัทของผู้ให้บริการ
4. หากเป็นระยะทางไกลมากกว่า 400 กิโลเมตร บริษัทผู้ให้บริการจะต้องมีพนักงานขับรถ 2 คน หรือจะต้องมีการหยุดจอดรถพักทุก 4 ชั่วโมง อย่างน้อยเป็นเวลา 30 นาที 

นอกจากการรู้จักอุปกรณ์ สิ่งสำคัญอีกประการคือ “สติ” เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน พยายามตั้งสติ ประเมินสถานการณ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ หรือ พนักงานขับรถ อย่างเคร่งครัด

การเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉิน เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจหมายถึง ความแตกต่างระหว่าง ชีวิต และ ความตาย ดังนั้น ก่อนขึ้นรถบัสครั้งต่อไป ลองสำรวจ “ทางออกฉุกเฉิน” และอุปกรณ์ต่างๆ ให้คุ้นเคย เพื่อความปลอดภัย ของตัวคุณเอง และคนที่คุณรัก

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง