ถอดรองเท้าขับรถอันตราย และมีโอกาสทำให้เกิดอุบัติเหตุง่ายขึ้น
ถอดรองเท้าขับรถอันตราย และมีโอกาสทำให้เกิดอุบัติเหตุง่ายขึ้น

ถอดรองเท้าขับรถอันตราย และมีโอกาสทำให้เกิดอุบัติเหตุง่ายขึ้น

ถอดรองเท้าขับรถอันตราย

ผู้ที่ชอบถอดรองเท้าขับรถส่วนใหญ่ส่วนหนึ่งเกิดจากความคุ้นเคยมาตั้งแต่ในช่วงที่เริ่มหัดขับรถ เลยทำให้รู้สึกถนัดและง่ายกว่าที่จะเบรกและเหยียบคันเร่ง เพราะไม่มีรองเท้ามาเป็นสิ่งกีดขวางระหว่างเท้ากับแป้นเหยียบ

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญไม่แนะนำให้ขับรถด้วยเท้าเปล่า เนื่องจากผู้ขับรถจะต้องออกแรงและเกร็งเท้า ซึ่งมีโอกาสที่จะทำให้เกิดความเจ็บปวด ทำให้เกิดตะคริวหรืออาการกระตุกอื่น ๆ ที่เท้า แถมจะไปลดความสามารถของผู้ขับขี่และการบังคับรถได้อย่างมีประสิทธิภาพลง


อันตรายจากการถอดรองเท้าขับรถ
1. รองเท้าขัดแป้นเบรก

หนึ่งในเหตุผลที่คนไม่นิยมถอดรองเท้าขับรถเนื่องด้วยความประมาทที่รองเท้าอาจกลิ้งไปขัดกับใต้แป้นเบรก ทำให้เหยียบเบรกไม่ถนัดในบางสถานการณ์จนเกิดเป็นอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันได้

2. เท้าลื่น

หากเป็นคนมีเหงื่อออกที่เท้ามาก การขับรถนานๆ หรือขับรถในสถานการณ์กดดันมากๆ เช่น ขับรถขึ้นลงห้างสรรพสินค้าที่แออัด การขึ้นเนินที่ยากๆ อาจเร่งให้ร่างกายเครียดจนเหงื่อออกที่เท้ามากผิดปกติ จนเท้าเปียกลื่นเหยียบคันเร่งหรือเบรกพลาด เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุได้เช่นกัน

3. สกปรก

ยิ่งใครที่ใช้รถร่วมกัน บางคนถนัดใส่รองเท้าขับรถ บางคนไม่ถนัดใส่รองเท้าขับรถ แน่นอนฝุ่นที่รองเท้าย่อมติดที่แป้นบังคับรถยนต์ ดังนั้นหากคนไม่ใส่รองเท้าขับรถไปขับต่อคนที่สวมรองเท้าย่อมเจอความสกปรกจากรองเท้าคนก่อนหน้า ไม่ต้องจินตนาการว่าเท้าของคุณจะดำและสกปรกขนาดไหน


ในด้านของกฎหมายบังคับสวมใส่รองเท้าขณะขับรถ
พ.ร.บ.ขนส่งทางบก มาตรา 102(1) และกฎกระทรวง พ.ศ.2555 ได้ระบุชัดเจนว่า ผู้ขับขี่รถรับจ้าง รถสาธารณะ รวมไปถึงรถแท็กซี่ รถจักรยานยนต์สาธารณะ หรือรถนำเที่ยว ฯลฯ ขณะขับรถรับจ้างและรถสาธารณะ ผู้ขับขี่ต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยรัดกุม และสวมใส่รองเท้าหุ้มส้น หรือหุ้มข้อ หากฝ่าฝืนจะถูกระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 127

ในมุมผู้เขียนมองว่าเหตุผลที่บังคับสวมรองเท้าขณะขับรถให้บริการจะเป็นภาพของความเรียบร้อยและสุขภาพของผู้ขับขี่ หากขับรถด้วยสุขภาพแข็งแรงไม่มีอาการเกร็งที่ส้นเท้า ไม่เป็นตะคริว ย่อมทำให้ผู้โดยสารปลอดภัยไปด้วย

 

 

 

 

Share:
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง