อัปเดตล่าสุด ต่อภาษีรถยนต์ 2567 เสียเงินกี่บาท?
ภาษีรถยนต์ คืออะไร?
ภาษีรถยนต์ เป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าของรถทุกคนต้องจ่ายให้กับกรมการขนส่งทางบก โดยจำนวนเงินภาษีจะขึ้นอยู่กับอายุรถ ขนาดเครื่องยนต์ (cc) และน้ำหนักรถ เมื่อชำระภาษีแล้ว กรมการขนส่งทางบกจะจัดส่งป้ายภาษีมาให้ภายใน 10 วัน เจ้าของรถต้องติดป้ายภาษีที่กระจกหน้ารถ หากไม่ติดอาจถูกปรับเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบ
หากขาดการต่อภาษีรถยนต์ เจ้าของรถจะต้องเสียค่าปรับ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1% ต่อเดือน และหากขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี ป้ายทะเบียนรถจะถูกยกเลิก ต้องคืนป้ายและเริ่มกระบวนการใหม่
หากขาดต่อภาษีรถยนต์จะเกิดอะไรขึ้น?
อยากให้ทำความเข้าใจก่อนว่าการต่อภาษีรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถตู้ รถครอบครัว 7 ที่นั่ง หรือรถยนต์ประเภทใดก็ตามจะต้องทำการต่อภาษีรถยนต์ในปีที่หมดอายุ โดยสามารถ “ต่อล่วงหน้า” ได้ 90 วัน แน่นอนว่ามีเวลาให้เจ้าของรถคำนวณค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีได้มากโขเลย
แต่ถึงอย่างนั้นยังไม่วายลืมต่อภาษี จนเป็นเหตุให้ต่อภาษีรถยนต์ล่าช้ากว่าที่กำหนด หรือขาดต่อภาษีนานเกินไป ซึ่งถ้าหากเป็นแบบนี้ แน่นอนว่ามีผลกระทบตามมาแน่นอน
ต่อภาษีรถยนต์ 2567 ราคาเท่าไหร่ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไป (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือดำ)
รถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไป (ไม่เกิน 7 ที่นั่ง) จะคำนวณเรื่องต่อภาษีรถยนต์ 2567 จากขนาดของเครื่องยนต์หรือซีซี ดังนี้
- 600 ซีซีแรก คิดซีซีละ 50 สตางค์
- 601–1,800 ซีซี คิดซีซีละ 1.50 บาท
- 1,801 ซีซีขึ้นไป ซีซีละ 4 บาท
นอกจากนี้ยังมี “ส่วนลด” สำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 5 ปีขึ้นไป โดยมีสัดส่วนที่ลดลง ดังนี้
- รถยนต์อายุเกิน 6 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 10%
- รถยนต์อายุเกิน 7 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 20%
- รถยนต์อายุเกิน 8 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 30%
- รถยนต์อายุเกิน 9 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 40%
- รถยนต์อายุเกิน 10 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 50%
รถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีเขียว)
รถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง จะถูกคิดตาม เช่น รถตู้ขนส่งสินค้า รถบรรทุก มีวิธีคิดคำนวณต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ 2567 ดังนี้
- น้ำหนักรถ 0-500 อัตราภาษี 300 บาท
- น้ำหนักรถ 501- 750 กก. อัตราภาษี 450 บาท
- น้ำหนักรถ 751 – 1,000 กก. อัตราภาษี 600 บาท
- น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กก. อัตราภาษี 750 บาท
- น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กก. อัตราภาษี 900 บาท
- น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กก. อัตราภาษี 1,050 บาท
- น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กก. อัตราภาษี 1,350 บาท
- น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กก. อัตราภาษี 1,650 บาท
- น้ำหนักรถ 2,501 – 3,000 กก. อัตราภาษี 1,950 บาท
รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีน้ำเงิน)
รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถตู้ มีวิธีคำนวณราคาต่อรถยนต์ตาม “น้ำหนัก” ตัวรถของ ดังนี้
- น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,300 บาท
- น้ำหนักรถเกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,600 บาท
รถไฟฟ้า EV ต้องจ่ายภาษีปีละเท่าไหร่?
สำหรับรถไฟฟ้าทางคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้ลดภาษีรถไฟฟ้า EV ลง 80% ของอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียน โดยรถไฟฟ้าที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2568 โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้
ภาษีรถไฟฟ้า ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
- น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ต้องเสียภาษี 30 บาท
- น้ำหนัก 501 – 750 กก. ต้องเสียภาษี 60 บาท
- น้ำหนัก 751 – 1,000 กก. ต้องเสียภาษี 90 บาท
- น้ำหนัก 1,001 – 1,250 กก. ต้องเสียภาษี 160 บาท
- น้ำหนัก 1,501 – 1,750 กก. ต้องเสียภาษี 260 บาท
- น้ำหนัก 1,751 – 2,000 กก. ต้องเสียภาษี 330 บาท
- น้ำหนัก 2,001 – 2,500 กก. ต้องเสียภาษี 380 บาท
- น้ำหนัก 2,501 – 3,000 กก. ต้องเสียภาษี 440 บาท
- น้ำหนัก 3,001 – 3,500 กก. ต้องเสียภาษี 480 บาท
- น้ำหนัก 3,501 – 4,000 กก. ต้องเสียภาษี 520 บาท
- น้ำหนัก 4,001 – 4,500 กก. ต้องเสียภาษี 560 บาท
- น้ำหนัก 4,501 – 5,000 กก. ต้องเสียภาษี 600 บาท
- น้ำหนัก 5,001 – 6,000 กก. ต้องเสียภาษี 640 บาท
- น้ำหนัก 6,001 – 7,000 กก. ต้องเสียภาษี 680 บาท
- น้ำหนัก 7,001 ขึ้นไป กก. ต้องเสียภาษี 720 บาท
ภาษีรถไฟฟ้า EV ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เกิน 7 ที่นั่ง
- น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ต้องเสียภาษี 15 บาท
- น้ำหนัก 501 – 750 กก. ต้องเสียภาษี 30 บาท
- น้ำหนัก 751 – 1,000 กก. ต้องเสียภาษี 45 บาท
- น้ำหนัก 1,001 – 1,250 กก. ต้องเสียภาษี 80 บาท
- น้ำหนัก 1,251 – 1,500 กก. ต้องเสียภาษี 100 บาท
- น้ำหนัก 1,501 – 1,750 กก. ต้องเสียภาษี 130 บาท
- น้ำหนัก 1,751 – 2,000 กก.ต้องเสียภาษี 160 บาท
- น้ำหนัก 2,001 – 2,500 กก. ต้องเสียภาษี 190 บาท
- น้ำหนัก 2,501 – 3,000 กก. ต้องเสียภาษี 220 บาท
- น้ำหนัก 3,001 – 3,500 กก. ต้องเสียภาษี 240 บาท
- น้ำหนัก 3,501 – 4,000 กก. ต้องเสียภาษี 260 บาท
- น้ำหนัก 4,001 – 4,500 กก. ต้องเสียภาษี 280 บาท
- น้ำหนัก 4,501 – 5,000 กก. ต้องเสียภาษี 300 บาท
- น้ำหนัก 5,001 – 6,000 กก. ต้องเสียภาษี 320 บาท
- น้ำหนัก 6,001 – 7,000 กก. ต้องเสียภาษี 340 บาท
- น้ำหนัก 7,001 ขึ้นไป กก. ต้องเสียภาษี 360 บาท
ภาษีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ต้องเสียภาษี 10 บาท
รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องเสียภาษี 10 บาท