How To ทะเบียนรถยนต์ หมดอายุเกิน 2 ปี  ต้องทำยังไงบ้าง?
How To ทะเบียนรถยนต์ หมดอายุเกิน 2 ปี ต้องทำยังไงบ้าง?

How To ทะเบียนรถยนต์ หมดอายุเกิน 2 ปี  ต้องทำยังไงบ้าง?

การต่อภาษีรถยนต์หรือต่อทะเบียนรถ คืออะไร
     ภาษีรถยนต์ เป็นการเสียภาษีที่ผูกกับการทำใบจดทะเบียนรถยนต์หรือทะเบียนรถของผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับรองการถือครองรถยนต์และมีการให้สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะได้รับจากการจดทะเบียนรถนั้น ๆ ซึ่งจำนวนการเสียภาษีรถยนต์จะขึ้นอยู่กับประเภทของรถ รวมถึงตำแหน่งที่ลงทะเบียนรถ (เช่น กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดอื่นๆ) และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั้น

     เมื่อทำการเสียภาษีรถยนต์แล้ว จะได้รับป้ายภาษีรถยนต์ (Vehicle Tax Disc) หรือที่บางคนเรียกกันว่า "ป้ายภาษี" เพื่อติดอยู่บนกระจกหน้ารถยนต์ โดยบนป้ายภาษีจะแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาษีรถยนต์ เช่น วันที่หมดอายุของภาษี และหมายเลขทะเบียนรถ

     การติดป้ายภาษีรถยนต์ เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะหากไม่ได้ติดป้ายนี้หรือไม่ได้ชำระภาษีรถยนต์ตามกฎหมาย อาจทำให้ถูกพิพาททางกฎหมายและมีความผิดมีอาจเสียเงินค่าปรับหรือถูกยึดทรัพย์ทางทะเบียนรถได้


ขาดต่อภาษีรถยนต์ 2 ปี เสียค่าปรับเท่าไหร่
     ขาดต่อภาษีรถยนต์ อย่าพึ่งตกใจ หากขาดมาแล้ว 2 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี เรายังสามารถทำเรื่องต่อภาษีรถยนต์ได้ตามปกติ เพียงแต่จะต้องเสียค่าธรรมเนียนเพิ่มเติมเนื่องจากการเป็นการต่อภาษีทะเบียนรถยนต์ที่ช้ากว่ากำหนด เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย จะต้องเสียค่าปรับดังนี้

รถยนต์ทุกคันจะต้องทำการต่อทะเบียนรถยนต์ก่อนหมดอายุ ซึ่งสามารถทำการต่อภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือนก่อนหมดอายุ แต่ถ้าต่อภาษีล่าช้า จะโดนค่าปรับ 1% ของภาษีรถยนต์ต่อเดือน
หากขาดต่อทะเบียนรถยนต์นานเกิน 2 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี จะต้องเสียค่าปรับตามจำนวนปีที่ค้าง
หากขาดต่อทะเบียนรถยนต์นานเกิน 3 ปี รถยนต์จะถูกระงับป้ายทะเบียน และต้องทำเรื่องส่งคืนป้ายทะเบียนภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ถูกระงับ ถ้าเกินระยะเวลาที่กำหนดจะถูกปรับไม่เกิน 1,000 บาท นอกจากนั้นจะต้องเปลี่ยนเลขทะเบียนใหม่ทั้งหมด พร้อมเสียค่าปรับตามจำนวนปีที่ค้างการเสียภาษีรถยนต์ด้วย


เอกสารที่ต้องเตรียมเมื่อขาดต่อภาษีรถยนต์
กรณีขาดต่อทะเบียนรถยนต์เกิน 2 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี
- เล่มทะเบียนรถยนต์ตัวจริง พร้อมสำเนา
- พ.ร.บ. รถยนต์
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถจากกรมขนส่ง (สำหรับรถยนต์ที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป)
 

กรณีรถยนต์ขาดต่อทะเบียนเกิน 3 ปี
- เล่มทะเบียนรถตัวจริงที่ถูกระงับทะเบียนแล้ว พร้อมสำเนา
- บัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าของรถ พร้อมสำเนา
- พ.ร.บ. รถยนต์
- หลักฐานการซื้อขายรถยนต์ (สำหรับรถยนต์ที่ไม่ได้จดทะเบียนในชื่อเจ้าของเดิม)
 

สถานที่ต่อภาษีรถยนต์หลังที่ขาดต่อนานเกิน 2 ปี
- ดำเนินการด้วยตัวเองที่ กรมการขนส่งทางบก
- บริการรับชำระภาษีใน ที่ทำการไปรษณีย์
- บริการรับชำระภาษีที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- บริการรับชำระภาษีที่ ศูนย์ให้บริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
- ศูนย์ให้บริการชำระภาษีแบบ เลื่อนล้อต่อภาษี ( Drive Thru for Tax)
- บริการรับชำระภาษีในห้างสรรพสินค้าที่มีบริการ ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax) จากกรมการขนส่งทางบก 

     ทั้งนี้การที่เราขาดต่อภาษีรถยนต์ได้ แสดงว่าเราจะต้องขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ไปด้วย ทำให้นอกจากจะเสียเงินค่าปรับกรณีขาดต่อภาษีรถยนต์แล้ว ก็ยังต้องเสียค่าปรับกรณีขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ไม่เกิน 2,000 บาทอีกด้วย

     ฉะนั้นการต่อทะเบียนรถยนต์คือสิ่งสำคัญที่เจ้าของรถจำเป็นต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอทุกปี เพื่อให้รถยนต์ของคุณสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพราะถ้าหากทะเบียนรถขาดต่อภาษีก็อาจจะทำให้คุณต้องพบกับปัญหาจุกจิกต่างๆ ตามมาได้ ดังนั้นอย่าปล่อยให้ทะเบียนรถขาดต่อภาษีจะดีที่สุด คุณสามารถเช็กวันสิ้นอายุได้จากป้ายสี่เหลี่ยมที่ติดอยู่หน้ารถยนต์ หรือเช็กอัตราภาษีที่ค้างได้กับทางกรมการขนส่งทางบกที่เบอร์ 1584

 

Share:
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง