"แบตแห้ง" กับ "แบตน้ำ" ควรเลือกเเบบไหนดี?
แบตเตอรี่รถยนต์ เราควรเลือกแบบไหนดี
แบตเตอรี่รถยนต์เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยให้รถยนต์สามารถสตาร์ทและทำงานได้อย่างราบรื่น โดยแบตเตอรี่รถยนต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ แบตเตอรี่แห้ง (Maintenance-Free Battery) และแบตเตอรี่น้ำ (Flooded Battery) แต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป การเลือกใช้แบตเตอรี่ชนิดใดจึงเหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง
แบตเตอรี่แห้ง หรือแบตเตอรี่แบบไม่ต้องดูแลรักษา เป็นแบตเตอรี่ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ เช่น ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยครั้ง มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า และมีขนาดที่เล็กและน้ำหนักเบากว่าแบตเตอรี่น้ำ ทำให้ติดตั้งได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ แบตเตอรี่แห้งยังมีประสิทธิภาพในการจ่ายกระแสไฟฟ้าสูง ทำให้สตาร์ทเครื่องยนต์ได้อย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ
แบตเตอรี่น้ำ หรือแบตเตอรี่แบบต้องดูแลรักษา เป็นแบตเตอรี่แบบดั้งเดิมที่ยังคงมีใช้อยู่ในรถยนต์บางรุ่น ข้อดีของแบตเตอรี่น้ำคือ มีราคาถูกกว่าแบตเตอรี่แห้ง และสามารถทนต่อสภาวะอากาศที่ร้อนได้ดีกว่า แต่ข้อเสียคือ ต้องมีการตรวจสอบและเติมน้ำกลั่นเป็นระยะๆ หากระดับน้ำกลั่นต่ำเกินไปจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ และมีโอกาสที่จะเกิดการรั่วซึมของกรดได้
ส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในแบตเตอรี่
- ขั้วแบตเตอรี่ (Terminal)เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างแบตเตอรี่กับระบบไฟฟ้าของรถยนต์
- แผ่นธาตุ (Plate) เป็นส่วนประกอบหลักที่ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้า โดยแผ่นธาตุบวกทำจากตะกั่วไดออกไซด์ (PbO2) ส่วนแผ่นธาตุลบทำจากตะกั่ว (Pb)
- แผ่นกั้น (Separator) เป็นวัสดุพลาสติกหรือยางที่ทำหน้าที่แยกแผ่นธาตุบวกจากแผ่นธาตุลบเพื่อป้องกันการลัดวงจร
- กรดแบตเตอรี่ (Battery Acid) เป็นสารละลายกรดซัลฟูริก (H2SO4) และน้ำ (H2O) ที่มีค่าความเป็นกรด (pH) ประมาณ 1.2
- เปลือกแบตเตอรี่ (Container) เป็นกล่องพลาสติกหรือยางที่ทำหน้าที่บรรจุส่วนประกอบต่างๆ ของแบตเตอรี่
โดยแบตเตอรี่จะทำงานด้วยปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างแผ่นธาตุตะกั่วกับกรดซัลฟิวริกที่อยู่ภายใน ปฏิกิริยานี้จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ซึ่งตัวแบตเตอรี่จะเก็บพลังงานไว้และปล่อยออกมาเมื่อถูกใช้งาน แบตเตอรี่ถือเป็นแหล่งพลังงานหลักของรถเมื่อเครื่องยนต์หยุดทำงานหรือดับเครื่อง แต่ทันทีที่รถสตาร์ทเครื่องแล้ว ไดชาร์จจะกลายเป็นแหล่งจ่ายพลังงานหลักของรถยนต์ ส่วนแบตเตอรี่จะเปลี่ยนเป็นแหล่งพลังงานสำรอง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าที่เลี้ยงอุปกรณ์ต่าง ๆ มีความเสถียร คงที่ และปลอดภัยมากที่สุด