ภาษีรถยนต์ ขาดมากกว่า 3 ปี ขึ้นไปต้องทำอย่างไร?
ภาษีรถยนต์ ขาดมากกว่า 3 ปี ขึ้นไปต้องทำอย่างไร?

 ภาษีรถยนต์ ขาดมากกว่า 3 ปี ขึ้นไปต้องทำอย่างไร? 

รถทะเบียนขาดคืออะไร?


ในแต่ละปีรถของคุณมีค่าใช้จ่ายประจำปีที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำคือ พ.ร.บ. รถ และการต่อภาษีรถยนต์ หรือที่เรียกว่าต่อทะเบียนรถ เมื่อต่อภาษีรถยนต์หรือการจ่ายภาษีรถยนต์ประจำปีเรียบร้อยแล้ว รถทุกคันจะได้รับป้ายสี่เหลี่ยมหรือที่เรียกกันว่าป้ายวงกลมจากกรมขนส่ง โดยจะระบุวันที่ต่อภาษีในปีถัดไป ซึ่งถ้าไม่ไปต่อภาษีตามวันที่ระบุไว้นั้น ก็จะถือว่าขาดต่อภาษีรถยนต์หรือเป็นรถทะเบียนขาดนั่นเอง

ทำอย่างไรเมื่อรถทะเบียนขาด?


เมื่อสังเกตจากป้ายวงกลมที่ได้จากการต่อภาษีล่าสุด จะระบุวันที่จะต้องต่อภาษีในปีถัดไป โดยเจ้าของรถสามารถต่อภาษีก่อนกำหนดได้ไม่เกิน 90 วันเพื่อไม่ให้รถทะเบียนขาด แต่หากเกินกำหนดที่จะต้องต่อภาษีก็ให้รีบดำเนินการต่อทันที ไม่อย่างนั้นจะถูกปรับร้อยละ 1 ของค่าต่อทะเบียนที่ต้องชำระต่อเดือนจนกว่าจะถึงวันที่ชำระเรียบร้อยแล้ว

รถทะเบียนขาดต่อภาษี ทำธุรกรรมอะไรได้บ้าง?
กรณีทะเบียนรถขาดต่อภาษีไม่เกิน 3 ปี สามารถนำไปซื้อขายได้ตามปกติ แต่ผู้ซื้อรถต่อไปนั้นจะต้องเอาไปต่อทะเบียนรถเอง และสำหรับธุรกรรมประเภทอื่น เช่น เอารถเข้าไฟแนนซ์หรือการขอสินเชื่อทะเบียนรถ จะไม่สามารถทำได้ คุณต้องต่อทะเบียนรถให้เรียบร้อยก่อนเท่านั้น

หากขาดต่อภาษีรถยนต์ 3 ปี ต้องทำอย่างไร?

คนมีรถต้องรู้! อย่าปล่อยให้รถยนต์ทะเบียนขาดเกิน 3 ปีเด็ดขาด

สำหรับเจ้าของรถที่ปล่อยให้รถขาดการต่อทะเบียนเกิน 3 ปี จะโดนแจ้งจอด โดยมีจดหมายจากกรมขนส่งส่งมาตามที่อยู่ของเจ้าของรถ ให้ระงับการใช้งานรถยนต์และเลขทะเบียนรถนั้นจะถูกยกเลิก เมื่อทะเบียนรถขาดการต่อภาษีเกิน 3 ปี ต้องดำเนินการขอทะเบียนรถคันนั้นใหม่ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมภาษีย้อนหลังสูงสุด 3 ปี

ต่อภาษีรถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
เมื่อรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขเพิ่มเติมต่างๆ ของการต่อภาษีรถยนต์แล้ว มาต่อกันที่เรื่องเอกสารที่ต้องใช้ในการต่อภาษีรถยนต์ เพราะเป็นอีกหนึ่งเรื่องปวดหัวที่หลายคนมักพบเจอ เนื่องจากเอกสารไม่ครบ ทำให้ต้องเสียเวลาในการย้อนกลับมาเสียภาษีรถยนต์อีกครั้ง โดยเอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนไปยื่นต่อภาษีรถยนต์ มีดังนี้

1.คู่มือจดทะเบียนรถฉบับจริงหรือสำเนาก็ได้
2.หลักฐานที่ระบุไว้ว่าได้ทำประกันภัยตามที่กฎหมายบังคับ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า พ.ร.บ. รถยนต์
3.ใบรับรองการตรวจสอบสภาพรถยนต์ หากรถยนต์มีอายุเกินกว่า 5 ปีขึ้นไป รวมไปถึงในกรณีที่รถมีการดัดแปลงสภาพ
 ซึ่งข้อมูลเพิ่มเติมทั้งหมดเหล่านี้ คือสิ่งที่คุณต้องใส่ใจและทำความเข้าใจก่อนจะไปต่อภาษีรถยนต์ หากไม่อยากเสียเวลาและค่าปรับเพิ่ม พร้อมกับเตรียมเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ให้พร้อมเพื่อสามารถ   ดำเนินการได้ทันที


ต่อภาษีรถยนต์ ได้ที่ไหนบ้าง?


หลังจากเตรียมเอกสารสำหรับการต่อภาษีรถยนต์แล้ว ก็มาถึงเรื่องของสถานที่สำหรับการต่อภาษีรถยนต์กันบ้าง ซึ่งการต่อภาษีรถยนต์หรือเสียภาษีรถยนต์คุณสามารถเดินทางไปทำได้ด้วยตนเอง หรือจะเลือกใช้บริการผ่านช่องทางภาษีรถยนต์ออนไลน์ หรือตัวแทนรับต่อภาษีรถยนต์ ที่มีบริการเป็นจำนวนมากก็ได้เช่นกัน แต่จะมีที่ไหนบ้าง ไปดูกัน

1.สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ (ไม่ว่ารถจดทะเบียนที่จังหวัดไหนก็สามารถจ่ายภาษีรถยนต์ได้ทั้งหมด)

2.ที่ทำการไปรษณีย์

3.เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ

4.การต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ (www.eservice.dlt.go.th)

5.ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ “ชอปให้พอแล้วต่อภาษี” (Shop Thru For Tax)

6.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.)

7.จุดบริการเลื่อนล้อต่อภาษีรถยนต์ (Drive Thru For Tax)

8.ใช้บริการผ่านสถานที่ตรวจสอบสภาพรถยนต์และต่อภาษีรถยนต์ โดยจะมีค่าบริการอยู่ที่ 200-300 บาท ต่อคัน

 

Share:
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง