เผยประโยชน์ของน้ำยาหม้อน้ำ และต้องเลือกอย่างไร?
1. ยับยั้งการกัดกร่อน (Corrosion Inhibitors)
สารหล่อเย็นมีสารเติมแต่งที่ช่วยยับยั้งการกัดกร่อน (Corrosion Inhibitors) โลหะชนิดต่างๆของอุปกรณ์หลายชนิดในระบบหล่อเย็น (อุปกรณ์ที่คือ ปั้มน้ำ วาลว์น้ำ ออยคูลเลอร์ หม้อน้ำและแผงระบายความร้อนภายใน ท่อยาง ท่อทางเดินต่างๆของน้ำที่ทำจากโลหะ ปลอกสูบ เสื้อสูบรวมทั้งฝาสูบ ล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์โละที่ต้องการ การปกป้องจากน้ำยาหล่อเย็น coolant ซึ่งในกรณีของน้ำเปล่า นอกจากจะไม่ได้ช่วยป้องกันการกัดกร่อนแล้ว น้ำยังเป็นตัวการสำคัญที่กัดกร่อนชิ้นส่วนต่างๆ เกิดสนิมและการผุกร่อนอย่างรวดเร็ว จนเป็นสาเหตุทำให้อุปกรณ์ระบบระบายความร้อนส่วนต่างๆ ทำงานผิดพลาด การระบายความร้อนผิดปกติจนทำให้เครื่องยนต์พังเสียหายตามที่กล่าวมาข้างต้น สารยับยั้งการกัดกร่อนสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภทหลักๆ ซึ่งเราจะพูดถึงในหัวข้อถัดไป
2. ป้องกันการก่อตัวของคราบตะกรัน (Scale Inhibitors)
น้ำยาหล่อเย็นที่ดีและมีคุณภาพ นอกจากจะช่วยป้องกันการกัดกร่อนโลหะแล้ว ยังต้องช่วยป้องกันการก่อตัวของตะกรันที่จะเกิดขึ้นภายในหม้อน้ำ โดยเฉพาะบริเวณแผงระบายความร้อนในหม้อน้ำหรือรังผึ้งหม้อน้ำ หลายคนอาจสงสัยว่าตระกรันคืออะไร สาเหตุของการเกิดตระกรันมักจะมาจากการเติมน้ำในหม้อน้ำ ในน้ำมักจะมีแร่ธาตุ แคลเซียม Ca แมกนีเซียม Mg ปนอยู่ในปริมาณมาก เมื่อเติมน้ำเหล่านี้ ลงไปในหม้อน้ำ จะเกิดหินปูน แคลเซียมคาร์บอเนต CaCo3 และแมกนีเซียมคาร์บอเนต MgCO3 ก่อตัวเป็นคราบตระกรัน ขึ้นภายในแผงระบายความร้อนหม้อน้ำ ตระกรันเหล่านี้ทำให้หม้อน้ำเกิดการอุดตัน ตระกรันจะขัดขวางทางเดินของน้ำในแผงระบายความร้อนในรังผึ้ง เมื่อน้ำไหลผ่านแผงระบายความร้อนได้น้อย ความร้อนจะขึ้นสูง เนื่องจากไม่สามารถระบายความร้อนออกจากเครื่องยนต์ได้ทันนั่นเองนอกจากนั้นผลกระทบที่ตามมาอีกคือ เมื่อความร้อนสูงขึ้นมาก ลูกสูบจะเกิดการขยายตัว เสียดสีกับผนังสูบอย่างรุนแรง เกิดการไหม้ ลูกสูบติดตาย ส่งผลให้ฝาสูบโก่ง จนเป็นเหตุทำให้เครื่องยนต์ใช้งานไม่ได้อีก ต้องยกเครื่องหรือเปลี่ยนเครื่องใหม่ ดังนั้นจึงควรต้องเลือกน้ำยาหล่อเย็นที่ได้คุณภาพและมีสารป้องกันการก่อตัวของคราบตระกรัน และไม่ควรใช้น้ำเปล่าเติมลงในหม้อน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดคราบตระกรันดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
3. ป้องกันการเกิดฟอง (Antifoam)
การเกิดฟองอากาศ (Foaming)ในระบบหล่อเย็นสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเนื่องจากเป็นระบบหมุนเวียน (Circulation) ของเหลวโดยใช้ปั๊มน้ำใบพัด ทั้งยังมีการสั่นสะเทือน (Vibration) ที่เกิดจากการจุดระเบิดและการทำงานของลูกสูบ ฟองอากาศในระบบหล่อเย็นจะส่งผลกระทบทำให้ ประสิทธิภาพของการระบายความร้อนลดลง รวมทั้งทำให้การเกิดตามด (Pitting) บริเวณผิวโลหะสูงขึ้น ส่งผลให้การระบายความร้อนขาดประสิทธิภาพ อายุการใช้งานของส่วนประกอบต่างๆในระบบหล่อเย็นสั้นลง น้ำยาหล่อเย็นที่มีสีคุณภาพจะมีสารช่วยลดการเกิดฟอง (Antifoam) มีหน้าที่ช่วยลดหรือกำจัดฟองอากาศที่จะเกิดขึ้น ไม่ให้ไปรบกวนการระบายความร้อน ทำให้การระบายความร้อนเต็มประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยยืดอายุชิ้นส่วนของส่วนประกอบต่างๆ ของระบบหล่อเย็นได้อีกด้วย
4. ป้องกันการแข็งตัว ในสภาวะอุณหภูมิติดลบ สำหรับในเมืองหนาว
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศอยู่ในโซนเขตร้อน (Tropical zone) อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศอยู่ระหว่าง 19-38 องศาเซลเซียล ช่วงอากาศร้อนที่สุดจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน ซึ่งแตกต่างจากประเทศในเขตหนาว (Cold Zone) ซึ่งอุณหภฺมิต่ำกว่า 0 หรืออาจถึง -47 และ -89 C ในบางทวีป น้ำยาหล่อเย็นที่ใช้กับเครื่องยนต์ในเมืองหนาวจึงต้องมีคุณสมบัติ ป้องกันการแข็งตัว (Antifreeze) ไปด้วย ซึ่งสารเหล่านี้คือสารจำพวก เอทธิลีนไกลคอล (Ethylene Glycol) สารไกลคอลซึ่งช่วยให้น้ำยาหล่อเย็นคงสภาพเป็นของเหลว สามารถไหลเวียน และ ระบายความร้อนของเครื่องยนต์ได้ ถึงแม้จะมีอุณหภูมิจะต่ำกว่าจุดเยือกแข็งก็ตาม นอกจากนี้สารป้องกันการแข็งตัว (Antifreeze) ยังทำให้จุดเดือดของน้ำยาหล่อเย็นเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย
5. ช่วยตรวจสอบจุดรั่วไหลของหม้อน้ำ
น้ำยาหล่อเย็นนั้นถูกผสมสีเข้าไปในภายหลัง เพื่อให้ช่างหรือผู้ใช้สามารถตรวจสอบหรือสังเกตการจุดรั่วไหลของหม้อน้ำได้ง่าย เพื่อประโยชน์ในการซ่อมบำรุงได้อย่างถูกต้อง สีจึงเพียงสารที่เติมเข้าไปในน้ำยาในภายหลัง สีของน้ำยาหม้อน้ำจึงไม่ได่บ่งบอกถึงคุณสมบัติหรือคุณภาพของน้ำยา แต่เป็นเพียงตัวชี้จุดรั่วไหลได้ชัดเจน และช่วยให้เราสามารถสังเกตุระดับของน้ำยาหล่อเย็นในถังพักน้ำได้ง่ายขึ้น
โดยทั่วไปน้ำหล่อเย็นต้องมีการตรวจเช็คทุก ๆ 40,000 กม. แต่ทางที่ดีควรหมั่นตรวจเช็คเป็นประจำ เพื่อตรวจสอบดูว่าระดับน้ำหล่อเย็นพร่องเร็วกว่าปกติหรือไม่ดูว่ามีรอยรั่วซึมตามจุดใด ๆ บ้างหรือเปล่า ซึ่งถ้ารู้ไวก็จะได้ซ่อมแซมหรือแก้ไขได้ทันก่อนจะบานปลายกลายเป็นปัญหาใหญ่