ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า การใส่เกียร์ P ทุกครั้งที่จอดรถ จะช่วยไม่ให้รถไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ไม่ว่าจะเป็นทางเรียบหรือทางลาดชันก็ตาม (การจอดรถกีดขวางคันอื่นในห้างสรรพสินค้าจึงไม่ควรใส่เกียร์ P โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้รถที่อยู่ในซองไม่สามารถออกได้) แต่กลไกสำคัญที่ทำให้รถไม่สามารถขยับเขยื้อนได้นั้น คือ สลักล็อกที่อยู่ภายในชุดเกียร์ ซึ่งหากโชคร้ายถูกชนอย่างรุนแรง อาจทำให้สลักล็อกดังกล่าวเกิดความเสียหายได้
ดังนั้น การจอดรถเกียร์ P ทุกครั้ง จึงควรใส่เบรกมือควบคู่กันไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้สลักล็อกเกียร์ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักตัวรถเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะจอดรถบนทางลาดชัน
ซึ่งตามหลักแล้วหลังจากการจอดรถทุกครั้ง ควรดึงเบรกมือขึ้นเสมอ ไม่เพียงแต่เฉพาะการจอดรถบนทางลาดชันเท่านั้น เนื่องด้วยเหตุผล 3 ข้อ ดังนี้
เพื่อความปลอดภัย - เบรกมือมีหน้าที่หลักในการยึดรถให้อยู่กับที่ ไม่ให้รถไหลเมื่อจอดในที่ลาดชัน หรือในกรณีที่เกียร์เกิดความเสียหาย เบรกมือจะช่วยป้องกันไม่ให้รถเคลื่อนที่
เพื่อถนอมระบบส่งกำลัง - การใส่เกียร์ P เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะยึดรถให้อยู่กับที่ได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะในรถเกียร์อัตโนมัติ การดึงเบรกมือจะช่วยลดภาระของระบบส่งกำลัง ทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเกียร์สึกหรอน้อยลง
เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ - การที่รถเคลื่อนที่โดยไม่คาดคิด อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น ชนรถคันข้างๆ หรือชนสิ่งกีดขวาง ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อตัวรถและทรัพย์สินของผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อจำเป็นต้องใส่เกียร์ N หรือเกียร์ว่าง
ทั้งหมดนี้คือข้อแนะนำในการใช้เบรกมือที่ถูกต้อง เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อความปลอดภัย ในการใช้รถยนต์ของท่าน ทุกคนครับ!