ไขข้อสงสัย พ.ร.บ. รถยนต์ กับ ภาษีแตกต่างกันอย่างไร?
ไขข้อสงสัย พ.ร.บ. รถยนต์ กับ ภาษีแตกต่างกันอย่างไร?

พ.ร.บ. คืออะไร?

พ.ร.บ. หมายถึง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นประกันภัยภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดให้รถที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกทุกคันจะต้องจัดทำและมีไว้เป็นหลักประกัน เพื่อให้ผู้ที่ประสบภัยจากรถจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากวงเงินรักษาพยาบาล รวมถึงเงินชดเชยกรณีเสียชีวิต โดยมีรายละเอียด ดังนี้

.ให้ความคุ้มครองผู้ขับขี่, ผู้โดยสาร และผู้เดินเท้า ที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ
.จ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 30,000 บาท โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดถูกหรือผิด
.จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ฝ่ายถูกสูงสุด 80,000 บาท
.การชำระภาษีรถประจำปีจำเป็นต้องมี พ.ร.บ. ทุกครั้ง โดยจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากวันที่ชำระภาษี

ภาษีรถยนต์ คืออะไร?

ภาษีรถยนต์ หรือ เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี แสดงให้เห็นว่ารถคันนี้ได้จดทะเบียนตามกฎหมายอย่างถูกต้องกับกรมการขนส่งทางบก และชำระภาษีประจำปีเรียบร้อยแล้ว โดยกฎหมายได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการต่อภาษีประจำปี ไว้ดังนี้

.การใช้รถโดยไม่ต่อภาษี มีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท
.การไม่แสดงป้ายภาษี มีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท
.หากขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี จะถูกระงับทะเบียนทันที หากนำรถไปใช้จะมีความผิดตามกฎหมาย ต้องนำรถมาตรวจสภาพและยื่นขอจดทะเบียนใหม่ พร้อมชำระภาษีและค่าธรรมเนียมที่ค้างอีกด้วย

รถ ไม่ได้ ต่อ พ.ร.บ. และ ภาษีรถยนต์ จะมีผลอย่างไร

อย่างที่ทราบกันดีว่า ทั้ง พ.ร.บ.รถ และ ภาษีรถยนต์ นั้นมีอายุเพียง 1 ปีเท่านั้น เมื่อครบกำหนด พ.ร.บ.รถยนต์ ขาด หรือ ภาษีรถยนต์ หมดอายุ จะต้อง ต่อ พ.ร.บ. และ ภาษีรถยนต์ แต่หากรถคันใดที่ ไม่มี พ.ร.บ.รถ จะมีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท อีกทั้งรถที่ไม่ได้ ต่อ พ.ร.บ. ภาษีรถยนต์ หรือ การต่อทะเบียนรถยนต์ ก็จะไม่สามารถดำเนินการต่อได้ เพราะต้องใช้เอกสาร พ.ร.บ.รถ ในการ ต่อภาษีรถยนต์ นั่นเอง และหากใครที่มัวแต่ชะล่าใจ ไม่ไปต่อภาษีรถยนต์นานเกิน 3 ปี จะส่งผลให้รถยนต์ถูกระงับป้ายทะเบียน ต้องทำเรื่องขอจดทะเบียนใหม่ แถมผู้ประสบภัยจากรถจะไม่ได้รับความคุ้มครองหากรถเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย

 
ต่อ พ.ร.บ. ภาษีรถยนต์ ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน

ทั้ง พ.ร.บ.รถยนต์ และ ภาษีรถยนต์ ต่างก็มีความสำคัญและมีความเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างมาก รถยนต์ทุกคันจึงจำเป็นที่จะต้อง ต่อ พ.ร.บ. และ ภาษีรถยนต์ เป็นประจำทุกปี โดยสามารถ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ภาษีรถยนต์ ได้ล่วงหน้า ก่อนวันหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน หรือ ประมาณ 90 วัน


วิธีชำระภาษีประจำปีรถยนต์ผ่านออนไลน์ 2567 ไม่ต้องไปขนส่ง

1.ตรวจสอบวันครบอายุภาษีรถประจำปี จากคู่มือรถ, เครื่องหมายการเสียภาษี หรือเว็บไซต์ชำระภาษีรถออนไลน์ https://eservice.dlt.go.th/ (เมนู “สอบถามข้อมูลค่าภาษีรถประจำปี”)

โดยรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี และรถที่ค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี จำเป็นต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) เสียก่อน จึงจะสามารถดำเนินการชำระภาษีได้ ส่วนรถที่ติดตั้งระบบก๊าซธรรมชาติ จะต้องมีใบรับรองวิศวะรถใช้ก๊าซ LPG/NGV ตามระยะเวลาที่กำหนด

2.เตรียมเอกสาร ได้แก่ คู่มือรถฉบับจริง (กรณีรถติดไฟแนนซ์สามารถใช้สำเนาได้) และหลักฐานความคุ้มครอง พ.ร.บ.

3.ชำระภาษีประจำปี ผ่านช่องทางดังนี้ (ชำระล่วงหน้าได้ 90 วัน ก่อนวันครบภาษี)

.สำนักงานขนส่งใกล้บ้าน
.เลื่อนล้อ ต่อภาษี (Drive Thru for Tax)
.ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk)
.เคาน์เตอร์เซอร์วิส
.ห้างสรรพสินค้าที่ร่วมโครงการช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)
.ที่ทำการไปรษณีย์
.ธนาคารพาณิชย์ที่ร่วมโครงการกับกรมการขนส่งทางบก
.เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
.แอปพลิเคชั่น DLTVehicleTax
.แอปพลิเคชั่น mPay และ TrueMoneyWallet

Share:
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง